ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ใครว่ายาก รวมขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ต่อให้เป็นมือใหม่ ยื่นภาษีครั้งแรกก็ทำได้
วิธีตรวจสอบค่าลดหย่อนก่อนยื่นภาษี
ถ้าหากใครที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว แต่ลืมรหัสผ่านสำหรับเข้าระบบ ให้เลือกที่ปุ่ม "ลืมรหัสผ่าน" (ภาพบน) จากนั้นทำตามขั้นตอนคำแนะนำในระบบ หรือเลือก ขอรหัสผ่านใหม่ ก็ทำได้
ส่วนนี้คือเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ให้เลือกที่ช่องนั้น เช่น
- หากบริษัทมีหักเงินประกันสังคมไป ให้เราเลือกที่ช่อง "เงินสมทบกองทุนประกันสังคม"
- กรณีดูแลบิดา-มารดา อายุเกิน 60 ปี ให้เลือกช่อง "อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา"
- หากซื้อกองทุน SSF ไว้ลดหย่อนภาษี ก็เลือกช่อง "ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF"
เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ให้กดถัดไป
ระหว่างนี้หากยังไม่กดยืนยันการยื่นแบบในหน้าสุดท้าย เรายังสามารถกลับไปแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในหน้าก่อน ๆ ได้
เมื่อกดยืนยันการยื่นแบบนั้น จากนั้นจะมาที่หน้า "ยื่นแบบสำเร็จ" ซึ่งจะแจ้งให้เราทราบว่า ได้เงินภาษีคืนเท่าไร สถานะการยื่นแบบเป็นอย่างไร และเราสามารถกด "นำส่งเอกสาร" เพื่อส่งเอกสารประกอบการยื่นแบบได้เลย
ขั้นตอนอาจจะดูเยอะ แต่ถ้าเราเตรียมข้อมูลหลักฐานไว้พร้อมแล้ว และลองคลิกตามไปทีละขั้น จะเห็นว่าการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้ยากอยางที่เราคิดค่ะ
สำหรับผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี การยื่นภาษีออนไลน์ก็เป็นทางเลือกที่ง่าย สะดวก โดยกรมสรรพากรได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการแก่ประชาชนสามารถยื่นภาษีได้ด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์
ถ้าหากใครยังไม่เคยยื่นภาษีออนไลน์มาก่อน กระปุกดอทคอมได้นำขั้นตอนวิธีการยื่นภาษีออนไลน์พร้อมทั้งคำอธิบายเบื้องต้นมาให้กับผู้ที่ยังไม่เคยยื่นภาษีออนไลน์ การยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเองนั้นไม่ยาก สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่นาที
ถ้าหากใครยังไม่เคยยื่นภาษีออนไลน์มาก่อน กระปุกดอทคอมได้นำขั้นตอนวิธีการยื่นภาษีออนไลน์พร้อมทั้งคำอธิบายเบื้องต้นมาให้กับผู้ที่ยังไม่เคยยื่นภาษีออนไลน์ การยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเองนั้นไม่ยาก สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่นาที
วิธีตรวจสอบค่าลดหย่อนก่อนยื่นภาษี
ก่อนยื่นภาษีเราสามารถตรวจสอบข้อมูลทางภาษีได้ โดยคลิกที่ "My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี" แล้วล็อกอินเข้าระบบ (หากยังไม่เคยสมัครสมาชิก ให้สมัครก่อน) เมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะมีข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีที่เราสามารถใช้ได้ในปีนี้ เช่น ลดหย่อนภาษีบิดา-มารดา, ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เงินบริจาค, Easy e-receipt, กองทุนรวม SSF RMF Thai ESG ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนเท่านั้น ในกรณีที่ตัวเลขไม่ตรงกันกับเอกสารหลักฐานลดหย่อนภาษีของเรา ให้ยึดจากเอกสารเป็นหลัก แล้วกรอกใหม่ตามตัวเลขจริงในขั้นตอนการยื่นภาษี
นอกจากนี้ หากใครมีรายการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากในระบบ ก็สามารถกรอกค่าลดหย่อนเพิ่มเติมเองได้ในขั้นตอนการยื่นภาษี
ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
ก่อนที่จะยื่นภาษีออนไลน์ จะต้องรู้ก่อนว่าต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 หรือ ภ.ง.ด. 90 กรณีไหนที่เข้าข่าย มีเงื่อนไขอะไรบ้าง คลิกดูรายละเอียดที่นี่ได้เลย เงื่อนไขการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- คนที่เคยยื่นภาษีออนไลน์ในปีก่อน ๆ หรือเคยสมัครสมาชิกแล้ว ให้เลือก "ยื่นแบบออนไลน์"
- คนที่ยังไม่เคยยื่นภาษีออนไลน์ ให้เลือก "สมัครสมาชิก"(หากไม่ต้องการสมัครสมาชิกให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 2 เพื่อเข้าสู่ระบบโดยวิธีอื่น)
สำหรับผู้สมัครสมาชิกใหม่ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- กรอกเลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ติ๊กถูกที่ช่อง "ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ"
- เลือกประสงค์ลงทะเบียนเพื่อ "ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" แล้วใส่ข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งเลข Laser ID หลังบัตรประชาชน
- ทำการยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ทางเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล
- กำหนดรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่าน จากนั้นเลือกคำถาม-ตอบคำถามเพื่อใช้กรณีลืมรหัสผ่าน
- อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข กดยืนยันการลงทะเบียน
- กรอกเลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ติ๊กถูกที่ช่อง "ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ"
- เลือกประสงค์ลงทะเบียนเพื่อ "ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" แล้วใส่ข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งเลข Laser ID หลังบัตรประชาชน
- ทำการยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ทางเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล
- กำหนดรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่าน จากนั้นเลือกคำถาม-ตอบคำถามเพื่อใช้กรณีลืมรหัสผ่าน
- อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข กดยืนยันการลงทะเบียน
หรือดูวิธีการสมัครสมาชิกใหม่ได้ที่นี่ วิธีการสมัครสมาชิกใหม่
ขั้นตอนที่ 2. เข้าสู่ระบบ (ภาพล่าง) สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ที่สมัครเรียบร้อยแล้ว เมื่อเลือก "ยื่นแบบออนไลน์" จะมาที่หน้า "เข้าสู่ระบบ"
ปัจจุบันสามารถเลือกเข้าระบบได้หลายวิธี ในกรณีที่ต้องการเข้าระบบด้วย RD ID ให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน ก็สามารถกรอกข้อมูลในช่องว่างแล้วกด "เข้าสู่ระบบ"
แต่ถ้าไม่ได้สมัครสมาชิก สามารถเข้าสู่ระบบได้ด้วยแอปพลิเคชัน ThaiD หรือผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือผ่านการยืนยันตัวตนด้วย NDID ที่แอปพลิเคชันธนาคาร
ขั้นตอนที่ 3. ยืนยันตัวตน โดยระบุเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองเพื่อรับรหัส OTP แล้วกด "ขอรหัส OTP"
เมื่อได้รับ SMS แล้ว ให้นำรหัส OTP มากรอกที่ช่อง "รหัส OTP ที่ได้รับ โปรดระบุภายใน 5 นาที" แล้วกด "ยืนยัน OTP" (ภาพล่าง) หากใส่รหัสถูกต้อง ระบบจะนำไปสู่หน้าการยื่นภาษีต่อไป
ขั้นตอนที่ 4. เลือกแบบภาษี (ภาพล่าง)
- สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี 2567 ให้เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 โดยกด "ยื่นแบบ"
- สำหรับคนที่ต้องการยื่นแบบภาษีครึ่งปี ให้เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
- สำหรับคนที่ต้องการยื่นแบบภาษีครึ่งปี ให้เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ขั้นตอนที่ 5. ตรวจสอบข้อมูล (ภาพล่าง) ในหน้า "แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ปีภาษี 2567" ซึ่งจะมีข้อมูลที่เรากรอกไว้ในขั้นตอนของการลงทะเบียน สมัครสมาชิกปรากฏอยู่ ให้เราตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง หากพบข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริงให้กด "แก้ไข" เพราะเมื่อกดยืนยันข้อมูลไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้อีก
- กรณีมีร้านค้า / กิจการส่วนตัว ให้ระบุชื่อร้านค้า หรือเว็บไซต์ (ถ้าไม่มี ไม่ต้องกรอก)
- เลือก "สถานะ" ซึ่งมีให้เลือกทั้งสถานะโสด / หม้าย / สมรส / หย่า / เสียชีวิต
สำหรับคนที่เลือกสถานะสมรสจะมีให้กรอกข้อมูลของคู่สมรส (ภาพล่าง) รวมทั้งสถานะของคู่สมรสว่ามีรายได้หรือไม่ ต้องการยื่นภาษีรวมกัน หรือแยกยื่นภาษี
เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยให้กด "ถัดไป" หรือกรณีเลือกโสดหรือหม้าย ก็ให้กดปุ่ม "ถัดไป" ได้เลย สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยว่า การแยกยื่นภาษีสามี ภรรยา กับ รวมยื่น แบบไหนเหมาะกับใคร สามารถอ่านรายละเอียดได้
ขั้นตอนที่ 6. กรอกเงินได้ จะมีให้เลือกรายได้ตามมาตราต่าง ๆ คือ
- รายได้จากเงินเดือน
- รายได้จากฟรีแลนซ์, รับจ้างทั่วไป, วิชาชีพอิสระ
- รายได้จากฟรีแลนซ์, รับจ้างทั่วไป, วิชาชีพอิสระ
- รายได้จากทรัพย์สิน, การทำธุรกิจ
- รายได้จากการลงทุน
- รายได้จากมรดกหรือได้รับมา
- รายได้จากมรดกหรือได้รับมา
ถ้าจะกรอกข้อมูลรายได้ส่วนไหนก็ให้กด "ระบุข้อมูล" ตรงหัวข้อรายได้นั้น ๆ ยกตัวอย่างมนุษย์เงินเดือนมีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัส ให้กด "ระบุข้อมูล" ตรงหัวข้อ "เงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างแรงงาน มาตรา 40(1)" (ภาพล่าง)
จากนั้นกรอกข้อมูลเงินได้ทั้งหมด, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เราได้จ่ายไปแล้ว (ถ้ามี) และเลขผู้จ่ายเงินได้ ในส่วนนี้ก็คือให้กรอกเลขภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรา ซึ่งจะมีข้อมูลอยู่ในใบ 50 ทวิ แล้วกด "บันทึก"
แต่หากมีรายได้อื่น ๆ ด้วย ให้กด "ระบุข้อมูล" ที่รายได้ประเภทอื่นเพิ่มเติม แล้วกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย เช่น คนที่ขายของออนไลน์ ให้เลือก "เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง และเงินได้อื่น ๆ (มาตรา 40(8))
ขั้นตอนที่ 7. กรอกค่าลดหย่อน (ภาพล่าง) ให้ใส่ข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีที่เรามี ซึ่งจะแบ่งเป็น
- กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน
- กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ
- กลุ่มที่ 4 Easy e-receipt
- กลุ่มที่ 4 Easy e-receipt
- กลุ่มที่ 5 เงินบริจาค
ส่วนนี้คือเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ให้เลือกที่ช่องนั้น เช่น
- หากบริษัทมีหักเงินประกันสังคมไป ให้เราเลือกที่ช่อง "เงินสมทบกองทุนประกันสังคม"
- กรณีดูแลบิดา-มารดา อายุเกิน 60 ปี ให้เลือกช่อง "อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา"
- หากซื้อกองทุน SSF ไว้ลดหย่อนภาษี ก็เลือกช่อง "ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF"
กรณีมีภาษีที่ได้ชำระไว้แล้วในการยื่น ภ.ง.ด.93 หรือ ภ.ง.ด.94 (ภาษีครึ่งปี) ให้กรอกตัวเลขลงไปด้วย (ถ้าไม่มี ไม่ต้องกรอก)
ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบข้อมูล ระบบจะสรุปข้อมูลเงินได้ทั้งหมดที่หักยกเว้น / หักค่าใช้จ่าย / หักลดหย่อน และคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย ตัวอย่างเช่น
โดยหากข้อมูลระบุว่า "รวมทั้งหมดที่ต้องชำระ" แสดงว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจากเงินที่เราจ่ายไป ซึ่งจะมีให้เลือกว่าต้องการผ่อนภาษี 3 งวดหรือไม่
ถ้าต้องการผ่อน 3 งวด ระบบจะแจ้งว่าต้องชำระงวดละเท่าไร ภายในวันที่เท่าไร และชำระได้ผ่านช่องทางไหนบ้าง ตรวจสอบข้อมูลการชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ "การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง ?" และสำหรับผู้ที่มีภาระเรื่องค่าใช้จ่ายก็สามารถดูรายละเอียด ผ่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ได้
ส่วนคนที่ชำระภาษีไว้เกิน ระบบจะขึ้นข้อความ "ยอดภาษีสุทธิ ชำระไว้เกิน" เราสามารถเลือกได้เลยว่าต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินหรือไม่
ในตอนนท้ายจะมีให้เลือกว่า ต้องการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่ ให้กดเลือก "ต้องการอุดหนุน" หรือ "ไม่ต้องการ" แล้วกด "ถัดไป"
ขั้นตอนที่ 9. จากนั้นจะปรากฏหน้า "ยืนยันการยื่นแบบ" ให้เราตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นกด "ยืนยันการยื่นแบบ" เป็นอันเสร็จสิ้น
ระหว่างนี้หากยังไม่กดยืนยันการยื่นแบบในหน้าสุดท้าย เรายังสามารถกลับไปแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในหน้าก่อน ๆ ได้
วิธีตรวจสอบข้อมูลการขอคืนภาษี
หลังจากยื่นภาษีแล้ว สามารถสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษีได้ที่ระบบ My Tax Account คลิก ซึ่งเราไม่ควรลืมตรวจสอบนะคะ เพราะกรมสรรพากรอาจเรียกตรวจเอกสารของเราได้ กรณีนี้เราจะต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ สแกนเป็นไฟล์แล้วอัปโหลดผ่านหน้าเว็บไซต์กรมสรรพากร
เพื่อตรวจสอบภายในวันที่กำหนด ซึ่งเมื่อกรมสรรพากรตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
ก็จะดำเนินการคืนเงินภาษีให้ทางบัญชีธนาคารที่เราผูกพร้อมเพย์ไว้
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (Call Center) โทร. 1161 หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ อีกทั้งผู้ยื่นยังสามารถตรวจสอบสถานะการขอคืนภาษีได้
กรอกข้อมูลผิดไป ทำไงดี ?
สำหรับคนที่ยื่นแบบภาษีทางออนไลน์ไปแล้วและเพิ่งรู้ว่ากรอกข้อมูลผิดไป
กรณีนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขแบบที่ยื่นไปแล้วได้นะคะ
แต่เราจะต้องกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดผ่านอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง โดยกดเลือกช่อง
"ยื่นเพิ่มเติม" ซึ่งกรมสรรพากรจะพิจารณาจากการยื่นแบบครั้งล่าสุดที่เรายื่นไป
เพราะฉะนั้นใครกรอกข้อมูลผิดไปก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ หากยื่นภาษีผิด ก็แก้ไขได้ เพียงแค่ยื่นใหม่ก็จบแล้ว
ช่องทางอื่น ๆ สำหรับการยื่นภาษีรายได้
นอกจากยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ในเขตกรุงเทพมหานครยังสามารถยื่นภาษีรายได้ที่
1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ)
2. ที่ทําการไปรษณีย์สําหรับการยื่นแบบ โดยสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือธนาณัติ (ตามจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระทั้งจํานวน) ส่งไปยังที่อยู่
กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชําระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงิน
ให้แก่ผู้ยื่นแบบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (Call Center) โทร. 1161 หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ อีกทั้งผู้ยื่นยังสามารถตรวจสอบสถานะการขอคืนภาษีได้
กรอกข้อมูลผิดไป ทำไงดี ?
สำหรับคนที่ยื่นแบบภาษีทางออนไลน์ไปแล้วและเพิ่งรู้ว่ากรอกข้อมูลผิดไป
กรณีนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขแบบที่ยื่นไปแล้วได้นะคะ
แต่เราจะต้องกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดผ่านอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง โดยกดเลือกช่อง
"ยื่นเพิ่มเติม" ซึ่งกรมสรรพากรจะพิจารณาจากการยื่นแบบครั้งล่าสุดที่เรายื่นไป
เพราะฉะนั้นใครกรอกข้อมูลผิดไปก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ หากยื่นภาษีผิด ก็แก้ไขได้ เพียงแค่ยื่นใหม่ก็จบแล้วช่องทางอื่น ๆ สำหรับการยื่นภาษีรายได้
นอกจากยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ในเขตกรุงเทพมหานครยังสามารถยื่นภาษีรายได้ที่1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ)
2. ที่ทําการไปรษณีย์สําหรับการยื่นแบบ โดยสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือธนาณัติ (ตามจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระทั้งจํานวน) ส่งไปยังที่อยู่
กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชําระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงิน
ให้แก่ผู้ยื่นแบบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
3. ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart TAX ของกรมสรรพากร
ต่างจังหวัดสามารถยื่นภาษีรายได้ที่
1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ)
2. ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart TAX ของกรมสรรพากร
ต่างจังหวัดสามารถยื่นภาษีรายได้ที่
1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ)
2. ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart TAX ของกรมสรรพากร
ขั้นตอนอาจจะดูเยอะ แต่ถ้าเราเตรียมข้อมูลหลักฐานไว้พร้อมแล้ว และลองคลิกตามไปทีละขั้น จะเห็นว่าการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้ยากอยางที่เราคิดค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษี
- แยกยื่นภาษีสามี-ภรรยา VS รวมยื่น แบบไหนเหมาะกับใคร
- ยื่นภาษีผิดทำไงดี ไม่ต้องตกใจไป แค่ยื่นใหม่ก็จบแล้ว !
- 6 วิธีขอคืนภาษีแบบได้รับเงินเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนาน
- ผ่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ 3 งวด ทางเลือกง่าย ๆ ของคนจ่ายภาษี
- ยื่นภาษีผิดทำไงดี ไม่ต้องตกใจไป แค่ยื่นใหม่ก็จบแล้ว !
- 6 วิธีขอคืนภาษีแบบได้รับเงินเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนาน
- ผ่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ 3 งวด ทางเลือกง่าย ๆ ของคนจ่ายภาษี