ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเอกวาดอร์

พิกัด: 2°00′S 77°30′W / 2.000°S 77.500°W / -2.000; -77.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

2°00′S 77°30′W / 2.000°S 77.500°W / -2.000; -77.500

สาธารณรัฐเอกวาดอร์

República del Ecuador (สเปน)
Ikwadur Ripuwlika (เกชัว)
Ekuatur Nunka (ชัวร์)
คำขวัญ"พระเจ้า ปิตุภูมิ และเสรีภาพ"
(สเปน: Dios, patria y libertad;
ละติน: Pro Deo, Patria et Libertate)
ที่ตั้งของ ประเทศเอกวาดอร์  (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศเอกวาดอร์  (เขียว)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
กีโต
00°13′12″S 78°30′43″W / 0.22000°S 78.51194°W / -0.22000; -78.51194
ภาษาราชการสเปน[1]
ภาษาพื้นเมืองคิชวา (เกชัว), ชัวร์ และอื่น ๆ "มีการใช้งานอย่างเป็นทางการโดยชนพื้นเมืองในพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่"[2]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2010[3])
ศาสนา
(ค.ศ. 2012)[4][5]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ดานิเอล โนโบอา
เบโรนิกา อาบัด โรฆัส
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช
• ประกาศ
10 สิงหาคม ค.ศ. 1809
• จากสเปน
24 พฤษภาคม ค.ศ. 1822
13 พฤษภาคม ค.ศ. 1830
• เป็นที่ยอมรับโดยสเปน
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840[6]
21 ธันวาคม ค.ศ. 1945
28 กันยายน ค.ศ. 2008
พื้นที่
• รวม
283,561[1] ตารางกิโลเมตร (109,484 ตารางไมล์)a (อันดับที่ 73)
5
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
17,289,554[7] (อันดับที่ 71)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2022
18,048,628[8]
69 ต่อตารางกิโลเมตร (178.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 148)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
202.043 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
11,701 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
106.289 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
6,155 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีนี (ค.ศ. 2020)Negative increase 47.3[10]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.740[11]
สูง · อันดับที่ 95
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐb (USD)
เขตเวลาUTC−5 / −6 (ECT / GALT)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+593
โดเมนบนสุด.ec
  1. รวมหมู่เกาะกาลาปาโกส
  2. ใช้สกุลเงินซูเกรจนถึง ค.ศ. 2000 จึงถูกแทนที่ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเหรียญเซนตาโบเอกวาดอร์

เอกวาดอร์ (สเปน: Ecuador, ออกเสียง: [e.kwaˈðoɾ] ; เกชัว: Ikwayur; ชัวร์: Ekuatur หรือ Ecuador)[12][13] หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (สเปน: República del Ecuador, แปลว่า สาธารณรัฐตรงเส้นศูนย์สูตร; เกชัว: Ikwadur Ripuwlika; ชัวร์: Ekuatur Nunka)[14][15] เป็นประเทศทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศเหนือ จรดประเทศเปรูทางทิศตะวันออกและทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก เอกวาดอร์ยังมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (กลุ่มเกาะโกลอน) ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางตะวันตกประมาณ 1,000 กิโลเมตร (621 ไมล์) เมืองหลวงของประเทศคือกรุงกีโต[16][17]

ดินแดนที่เป็นประเทศเอกวาดอร์เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชนพื้นเมืองหลายกลุ่มซึ่งค่อย ๆ ถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิอินคาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1820 ในฐานะส่วนหนึ่งของประเทศกรันโกลอมเบีย จากนั้นเอกวาดอร์จึงแยกตัวออกมาเป็นรัฐเอกราชใน ค.ศ. 1830 มรดกของจักรวรรดิทั้งสองสะท้อนให้เห็นอยู่ในหมู่ประชากรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของเอกวาดอร์ โดยส่วนใหญ่เป็นประชากรเลือดผสมหรือเมสติโซ รองลงมาเป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายแอฟริกา ชนพื้นเมือง และยุโรป[3] ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้กัน[18] แต่ภาษาพื้นเมือง 13 ภาษาก็ได้รับการรับรองตามกฎหมาย รวมทั้งภาษาเกชัวและภาษาชัวร์

รัฐเอกราชเอกวาดอร์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและเป็นประเทศกำลังพัฒนา[19] ที่มีรายได้ปานกลางและพึ่งพิงการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ (ได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร) เป็นอย่างสูง ประเทศนี้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกา ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง ที่ประชุมเพื่อความก้าวหน้าและการพัฒนาอเมริกาใต้ และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

เอกวาดอร์เป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง[20][21] โดยมีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นหลายชนิดเช่นที่หมู่เกาะกาลาปาโกส เพื่อแสดงความตระหนักรู้ถึงมรดกทางนิเวศวิทยาอันเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าว รัฐธรรมนูญเอกวาดอร์ฉบับ ค.ศ. 2008 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลกที่รับรองสิทธิของธรรมชาติหรือสิทธิของระบบนิเวศอันมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย[22]

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและนโยบายซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐ ในช่วง ค.ศ. 2006 ถึง 2016 ความยากจนในเอกวาดอร์ลดลงจากร้อยละ 36.7 เหลือร้อยละ 22.5 และการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 1.5 (เทียบกับร้อยละ 0.6 ในช่วงสองทศวรรษก่อนหน้า) ในขณะเดียวกัน ดัชนีจีนีว่าด้วยความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของประเทศก็ลดลงจาก 0.55 เหลือ 0.47[23]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในคราวเดียวกันในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสามารถดำรงตำแหน่งในวาระที่ 2 ติดต่อกันได้

ฝ่ายนิติบัญญัติ

[แก้]

รัฐสภาเอกวาดอร์เป็นสภาเดี่ยว มีจำนวน 124 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อตามสัดส่วน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เอกวาดอร์เน้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศในกรอบพหุภาคี โดยเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในลาตินอเมริกา ยุโรป และเอเชียอย่างหลากหลาย เพื่อลดการพึ่งพาพันธมิตรเดิมอย่างสหรัฐซึ่งเป็นคู่ค้าหลักและเคยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเอกวาดอร์มาก่อนหน้านี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่เขตการปกครองของเอกวาดอร์

ประเทศเอกวาดอร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 จังหวัด (provincia) แต่ละจังหวัดมีเมืองหลวงเป็นของตนเอง โดยชื่อเมืองหลักอยู่ในวงเล็บ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Ecuador". The World Factbook. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2011.
  2. "Constitución Política de la República del Ecuador". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
  3. 3.0 3.1 Población del país es joven y mestiza, dice censo del INEC. eluniverso.com. Data from the national census 2010 (2011-09-02)
  4. "INEC presenta por primera vez estadísticas sobre religión". Instituto Nacional de Estadisticas y Censos. 15 August 2012.
  5. "ECUADOR 2018 INTERNATIONAL RELIGIOUS FREEDOM REPORT" (PDF). According to a 2012 survey by the National Institute of Statistics and Census, the most recent government survey available, approximately 92 percent of the population professes a religious affiliation or belief. Of those, 80.4 percent is Roman Catholic; 11.3 percent evangelical Christian, including Pentecostals; and 1.3 percent Jehovah’s Witnesses. Seven percent belongs to other religious groups.
  6. España (1 มกราคม 1841). "Tratado de paz y amistad celebrado entre España y la República del Ecuador: en 16 de febrero de 1840". en la Imprenta Nacional. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2016 – โดยทาง Google Books.
  7. "Ecuador". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
  8. "Instituto Ecuatoriano de Estadística y Censos (INEC)".
  9. 9.0 9.1 "Report for Selected Countries and Subjects: Ecuador GDP". Internatinal Monetary Fund.
  10. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
  11. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  12. "Constitución de la República del Ecuador en Shuar". Issuu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019.
  13. "¡Iniuri seamkur!, Ayamrumamu nuyá Iniankasrik Ayamruma Papi" (PDF). INREDH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019.
  14. "Chicham atiakur metek atin turakur, pénke takakainiachu tuke enentaimtusartiniaitji" (PDF). (in Shuar language). Secretaría Nacional de Planificación y Desarrollo. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 December 2019.
  15. Pellizzaro, Siro M.; Nàwech, Fàusto Oswaldo (2003). Chicham: Dictionario Enciclopédico Shuar-Castellano. Wea Nekaptai.
  16. "Proyecciones Poblacionales". (in Spanish). National Institute of Statistics and Censuses (INEC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2020.
  17. "Quito se convirtió en la ciudad más poblada del Ecuador con más de 2,7 millones de habitantes en el 2018". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2019.
  18. "Central America and Caribbean :: PAPUA NEW GUINEA". CIA The World Factbook. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 9, 2016.
  19. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
  20. "South America Banks on Regional Strategy to Safeguard Quarter of Earth's Biodiversity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 26 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Conservation.org (16 September 2003).
  21. "Oficialmente Ecuador es el país de las orquídeas- Noticias de Cuenca - Azuay - Ecuador - Eltiempo de Cuenca". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
  22. "Ecuador Adopts New Constitution – With CELDF RIGHTS of NATURE Language". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2008. สืบค้นเมื่อ 30 September 2008. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help), Community Environmental Legal Defense Fund. Retrieved 7 September 2009.
  23. "Decade of Reform: Ecuador's Macroeconomic Policies, Institutional Changes, and Results" (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Ades, H. and Graham, M. (2010) The Rough Guide to Ecuador, Rough Guides
  • Becker, M. (2008) Indians and Leftists in the Making of Ecuador's Modern Indigenous Movements, Duke University Press Books
  • Becker, M. and Clark, A. K. (2007) Highland Indians and the State in Modern Ecuador, University of Pittsburgh Press
  • Blakenship, J. (2005) Cañar: A Year in the Highlands of Ecuador, University of Texas Press
  • Brown, J. and Smith, J. (2009) Moon Guidebook: Ecuador and the Galápagos Islands, Avalon Travel Publishing
  • Crowder, N. (2009) Culture Shock! Ecuador: A Survival Guide to Customs and Etiquette, Marshall Cavendish Corporation
  • Gerlach, A. (2003) Indians, Oil, and Politics: A Recent History of Ecuador, SR Books
  • Handelsman, M. H. (2008) Culture and Customs of Ecuador, Greenwood
  • Hurtado, O. (2010) Portrait of a Nation: Culture and Progress in Ecuador, Madison Books
  • O'Connor, E. (2007) Gender, Indian, Nation: The Contradictions of Making Ecuador, 1830–1925, University of Arizona Press
  • Pineo, R. (2007) Ecuador and the United States: Useful Strangers, University of Georgia Press
  • Roos, W. and Van Renterghem, O. (2000) Ecuador in Focus: A Guide to the People, Politics, and Culture, Latin America Bureau
  • Sawyer, S. (2004) Crude Chronicles: Indigenous Politics, Multinational Oil, and Neoliberalism in Ecuador, Duke University Press Books
  • Striffler, S. (2001) In the Shadows of State and Capital: The United Fruit Company, Popular Struggle, and Agrarian Restructuring in Ecuador – 1900–1995, Duke University Press Books
  • Torre, C. de la and Striffler, S. (2008) The Ecuador Reader: History, Culture, Politics, Duke University Press Books
  • Various (2010) Insight Guidebook: Ecuador & Galápagos, Insight Guides
  • Various (2009) Lonely Planet Guide: Ecuador & the Galápagos Islands, Lonely Planet
  • Whitten, N. E. (2011) Histories of the Present: People and Power in Ecuador, University of Illinois Press
  • Whitten, N. E. (2003) Millennial Ecuador: Critical Essays on Cultural Transformations and Social Dynamics, University Of Iowa Press

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  翻译: