ภาษาถิ่นโมนาโก
หน้าตา
ภาษาถิ่นโมนาโก | |
---|---|
munegascu | |
ออกเสียง | [muneˈgasku] |
ประเทศที่มีการพูด | โมนาโก |
ชาติพันธุ์ | 8,400 ผู้ถือสัญชาติโมนาโก (ค.ศ. 2016)[1] |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (ราว 20 คน อ้างถึงfor 1950)[2] ใกล้สูญ แต่มีการสอนในโรงเรียนฐานะมรดกทางภาษา |
ตระกูลภาษา | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
Linguasphere | 51-AAA-cha |
ภาษาถิ่นโมนาโก (ลีกูเรีย: munegascu, ออกเสียง: [muneˈgasku]; อิตาลี: monegasco; ฝรั่งเศส: monégasque) เป็นวิธภาษาหนึ่งของภาษาลีกูเรียซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มแกลโล-อิตาลิก ใช้พูดในประเทศโมนาโก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ปัจจุบันมีการสอนภาษาถิ่นโมนาโกอย่างเป็นทางการตามโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศโมนาโก[3] ทว่ามีประชากรท้องถิ่นพูดภาษานี้ได้เพียงไม่กี่คน ในย่านมอนาโก-วีลมีการติดป้ายจราจรเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาถิ่นโมนาโก[4]
ภาษาถิ่นโมนาโกคล้ายกับภาษาลีกูเรียถิ่นเจนัวและต่างจากภาษาอุตซิตาถิ่นม็องตง ในอดีตแถบเมืองนิสก่อนถูกผนวกเข้ากับฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1860 พูดภาษาถิ่นนิสซึ่งใกล้เคียงกับภาษาถิ่นโมนาโก[5] ช่วงที่โมนาโกตกเป็นรัฐในอารักขาของอาณาจักรซาร์ดิเนีย-พีดมอนต์ ช่วงปี ค.ศ. 1814–1861 ได้อิทธิพลจากภาษาอิตาลี[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 2016 census
- ↑ Raymond Arveiller (1967) Etude sur le Parler de Monaco. Comité National des Traditions Monégasques.
- ↑ L’enseignement de la Langue Monégasque (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07, สืบค้นเมื่อ 2020-03-26
{{citation}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Society". Monaco-IQ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-15. สืบค้นเมื่อ 6 September 2012.
- ↑ Gubbins, Paul; Holt, Mike (2002). Beyond Boundaries: Language and Identity in Contemporary Europe. Multilingual Matters. p. 91. ISBN 978-1-85359-555-4.
- ↑ History of Monaco