ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่
العربية الفصحى
al-ʻArabīyah al-Fuṣḥā
อัลอะเราะบียะฮ์ในอักษรอาหรับ (แบบนัสค์)
ออกเสียง/al ʕaraˈbijja lˈfusˤħaː/
ภูมิภาคโลกอาหรับ
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
ภาษาในศาสนาอิสลาม
จำนวนผู้พูดL1: 0  (2022)[1][a]
L2: 270 ล้านคน (2022)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาอาหรับเก่า
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรอาหรับ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
รายการ
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-3arb
นักภาษาศาสตร์arb-mod
  ภาษาราชการภาษาเดียว โดยมีชาวอาหรับเป็นชนกลุ่มใหญ่
  ภาษาราชการภาษาเดียว โดยมีชาวอาหรับเป็นชนกลุ่มน้อย
  ภาษาราชการร่วม โดยมีชาวอาหรับเป็นชนกลุ่มใหญ่
  ภาษาราชการร่วม โดยมีชาวอาหรับเป็นชนกลุ่มน้อย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ (อังกฤษ: Modern Standard Arabic, MSA) หรือ ภาษาอาหรับรูปเขียนสมัยใหม่ (Modern Written Arabic, MWA)[3] ที่นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้[4] เป็นภาษาอาหรับรูปแบบมาตรฐานที่พัฒนาในโลกอาหรับเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอาหรับรูปแบบนี้ใช้งานในวรรณกรรม, สถาบันการศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์กับสื่อมวลชน, กฎหมายและนิติบัญญัติ แม้ว่าจะไม่พูดเป็นภาษาแม่ ซึ่งคล้ายกับภาษาละตินร่วมสมัย[4]

นักภาษาศาสตร์หลายคนจัดให้ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มีความแตกต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิก ซึ่งเป็นภาษาเขียนก่อนช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้ว่าไม่มีข้อตกลงว่าเมื่อใดที่ภาษาอาหรับคลาสสิกกลายเป็นภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่[5] นอกจากนี้ ยังไม่มีชุดเกณฑ์ทางภาษาที่ตกลงกันซึ่งจะแยกแยะภาษาอาหรับคลาสสิกกับภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่[5]

ผู้พูดภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่โดยทั่วไปไม่แยกระหว่าง "ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่" กับ "ภาษาอาหรับคลาสสิก" เป็นภาษาต่างหาก แต่จะเรียกทั้งสองเป็น อัลอะเราะบียะตุลฟุศฮา (العربية الفصحى) หมายถึง "ภาษาอาหรับแบบพูด"[6] โดยถือว่าเป็นภาษาเดียวที่แบ่งออกเป็นสองยุค โดยจะแยกความแตกต่างเป็น فصحى العصر ฟุศฮา อัลอัศร์ (อาหรับมาตรฐานสมัยใหม่) กับ فصحى التراث ฟุศฮา อัตตุรอษ (อาหรับคลาสสิก)[6]

ประวัติ

[แก้]

ภาษาอาหรับคลาสสิก

[แก้]

ภาษาอาหรับคลาสสิกหรือภาษาอาหรับอัลกุรอ่านเป็นภาษาที่ใช้ในอัลกุรอ่านและวรรณกรรมในสมัยราชวงศ์อุมัยยัดและอับบาสิดเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 14 ภาษานี้ถือเป็นภาษาต้นกำเนิดของภาษาพูดรูปแบบต่าง ๆ ของภาษาอาหรับ แต่บางคนก็มองว่าภาษาอาระเบียเหนือโบราณหลายสำเนียงที่ใช้พูดในพุทธศตวรรษที่ 12 อาจจะเป็นจุดกำเนิดของภาษาพูดด้วย

ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่

[แก้]

ภาษานี้จัดเป็นมาตรฐานของภาษาเขียนในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 6 ภาษาของสหประชาชาติ เอกสารในโลกอาหรับเช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารราชการ และแบบหัดอ่านสำหรับเด็กจะเขียนด้วยภาษามาตรฐานนี้ จัดเป็นภาษาราชการของประเทศอาหรับทุกประเทศ และใช้สอนในโรงเรียนทุกระดับ

สถานะของภาษาเชิงสังคมของภาษาอาหรับในโลกปัจจุบันเป็นตัวอย่างของการใช้สำเนียงที่แตกต่างกันของภาษาเดียวกันสองสำเนียงในสถานะทางสังคมที่แตกต่างกัน ผู้พูดภาษาอาหรับที่ได้รับการศึกษาจะสามารถสื่อสารด้วยภาษาอาหรับมาตรฐานในสถานการณ์ที่เป็นทางการในต่างแดนได้ ในกรณีที่สื่อสารด้วยภาษาอาหรับต่างสำเนียงแล้วไม่เข้าใจกัน

การเปลี่ยนจากภาษาอาหรับคลาสสิกเป็นภาษามาตรฐานสมัยใหม่

[แก้]

ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่จะมีศัพท์ที่จัดว่าแปลกสำหรับผู้ใช้ภาษาอาหรับคลาสสิก ซึ่งอาจยืมมาจากภาษาอื่นเช่น فيلم ฟิล์ม หรือสร้างจากรากศัพท์เดิมที่มีอยู่แล้วเช่น هاتف hātif หมายถึงโทรศัพท์ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มีโครงสร้างของภาษาที่ได้รับจากภาษาอื่น เช่นในภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มีโครงสร้าง "X, X, X, และ X" แต่ในภาษาอาหรับคลาสสิกใช้ "X และ X และ X และ X" และพบประโยคที่ขึ้นด้วยประธานในภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่มากกว่า

ในกลุ่มของผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับจะถือว่าภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่กับภาษาอาหรับคลาสสิกเป็นคนละภาษา โดยต่างกันในด้านรูปแบบ รากศัพท์และการเพิ่มสิ่งใหม่ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยเข้มงวดตามกฎของภาษาอาหรับคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่จะมีความแตกต่างในแต่ละบริเวณขึ้นกับอิทธิพลของภาษาอาหรับท้องถิ่นและอิทธิพลของภาษาต่างชาติเช่น ภาษาฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือและเลบานอน ภาษาอังกฤษในอียิปต์และจอร์แดนเป็นต้น

ความแตกต่างในแต่ละพื้นที่

[แก้]

ภาษาอาหรับมาตรฐานมีการใช้ในรูปแบบเดียวกันทั่วตะวันออกกลาง แต่จะมีความแตกต่างที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาพูดอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ในอัลญาซีรา โฆษกที่พูดภาษาอาหรับมาตรฐานจะเปลี่ยนการออกเสียงบางหน่วยเสียงตามแบบสำเนียงอียิปต์ เช่นออกเสียงج เป็น [ɡ] หรืออาจต่างกันที่การเน้นคำ การออกเสียงสระ และพยัญชนะบางตัว

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ไม่ใช้เป็นภาษาแม่ ผู้พูดภาษาอาหรับจะเริ่มพูดภาษาย่อยท้องถิ่นก่อน ส่วนภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่เรียนรู้ผ่านการศึกษาในระบบ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ที่ Ethnologue (25th ed., 2022) Closed access
  2. "Basic Law: Israel - The Nation State of the Jewish People" (PDF). Knesset. 2018-07-19. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-01-13.
  3. Gully, Adrian; Carter, Mike; Badawi, Elsaid (July 29, 2015). Modern Written Arabic: A Comprehensive Grammar (2 ed.). Routledge. p. 2. ISBN 978-0415667494.
  4. 4.0 4.1 Kamusella, Tomasz (2017). "The Arabic Language: A Latin of Modernity?" (PDF). Journal of Nationalism, Memory & Language Politics. 11 (2): 117–145. doi:10.1515/jnmlp-2017-0006. S2CID 158624482.
  5. 5.0 5.1 Holes, C.; Allen, R. (2004). Modern Arabic: Structures, Functions, and Varieties. Georgetown classics in Arabic language and linguistics. Georgetown University Press. p. 5. ISBN 978-1-58901-022-2. …there is no chronological point at which CLA turned into MSA, still less any agreed set of linguistic criteria that could differentiate the two. MSA is merely a handy label used in western scholarship to denote the written language from about the middle of the nineteenth century, when concerted efforts began to modernize it lexically and phraseologically. Most western scholars refer to the formal written language before that date, and par excellence before the eclipse of Arab political power in the fifteenth century, as "Classical Arabic".
  6. 6.0 6.1 Alaa Elgibali and El-Said M. Badawi. Understanding Arabic: Essays in Contemporary Arabic Linguistics in Honor of El-Said M. Badawi, 1996. Page 105.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  翻译: