ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเวียดนาม
Tiếng Việt
ออกเสียง[tiəŋ˧˦ viət̚˧˨ʔ] (ภาคเหนือ)
[tiəŋ˦˧˥ viək̚˨˩ʔ] (ภาคกลาง)
[tiəŋ˦˥ viək̚˨˩˨] ~ [tiəŋ˦˥ jiək̚˨˩˨] (ภาคใต้)
ประเทศที่มีการพูด
จำนวนผู้พูด85 ล้านคน (2019)[1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรละติน (จื๋อโกว๊กหงือ)
อักษรเบรลล์เวียดนาม
จื๋อโนม (อดีต)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ เวียดนาม
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน เช็กเกีย[2]
 สโลวาเกีย[3]
ผู้วางระเบียบVietnam Academy of Social Sciences
รหัสภาษา
ISO 639-1vi
ISO 639-2vie
ISO 639-3vie
Linguasphere46-EBA
อาณาเขตของผู้ที่พูดภาษาเวียดนาม (ไม่นับชนกลุ่มน้อย) ภายในประเทศเวียดนาม[4]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเวียดนาม (เวียดนาม: tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก อันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการของประเทศเวียดนาม ภาษาเวียดนามมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ประมาณ 85 ล้านคน[1] คำจำนวนมากมีรากศัพท์ร่วมกับตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก[5] ภาษาเวียดนามเป็นภาษาแม่ของประชากรชาวเวียดนาม (ชาวญวน) และยังเป็นภาษาที่สองหรือภาษาแม่ของชนกลุ่มน้อยในประเทศเวียดนาม โดยภาษาเวียดนามแบ่งออกเป็นสามสำเนียงหลัก อันได้แก่ สำเนียงเหนือ (ฮานอย) สำเนียงกลาง (เว้) และสำเนียงภาคใต้ (โฮจิมินห์ซิตี้) ผลจากการอพยพ-ย้ายถิ่นฐาน ทำให้สามารถพบเจอผู้พูดภาษาเวียดนามได้ในพื้นที่ต่างๆในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ภาษาเวียดนามก็ยังได้รับการรองรับให้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในสาธารณรัฐเช็ก[a]

เช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดดที่มีวรรณยุกต์ การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม และมีการผันคำตามไวยากรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้คำนามในรูปแบบลักษณนาม คำศัพท์ในภาษาเวียดนามได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนและภาษาฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก

ภาษาเวียดนามเดิมใช้อักษรจื๋อโนมในการเขียน ซึ่งเป็นตัวหนังสือคำที่ดัดแปลงมาจากอักษรจีน (จื๋อฮั๊น) ไว้ใช้สำหรับยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและคำภาษาเวียดนามดั้งเดิมเป็นบางคำ พร้อมกับคิดค้นอักษรเฉพาะขึ้นมาเองในแต่ละท้องถิ่นเพื่อแสดงความหมายของคำอื่นๆนอกเหนือจากที่มีอยู่[6][7] ผลจากการล่าอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ทำให้ภาษาเวียดนามต้องเปลี่ยนไปใช้อักษรจื๋อโกว๊กหงือ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรละตินแทน โดยมีทวิอักษรและเครื่องหมายเสริมสัทอักษรไว้แสดงเสียงวรรณยุกต์และเสียงเฉพาะ

การจำแนก

[แก้]

งานภาษาศาสตร์เมื่อ 150 ปีที่แล้ว[8] ได้จัดหมวดหมู่ให้ภาษาเวียดนามเป็นสาขาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร อันเป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (รวมถึงภาษาเขมรที่ใช้พูดในประเทศกัมพูชา, ภาษาชนกลุ่มน้อย-ภาษาท้องถื่นต่างๆ เช่น ภาษามุนดาและภาษาคาซีที่ใช้พูดกันในภูมิภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย, ภาษาอื่น ๆ ภายในประเทศลาว, ทางตอนใต้ของประเทศจีน และพื้นที่บางส่วนในประเทศไทย) ต่อมาการค้นพบว่าภาษาเหมื่องมีความเกี่ยวข้อง-ใกล้ชิดกับเวียดนามมากกว่าภาษามอญ–เขมรภาษาอื่นๆ จึงได้มีการจำแนกออกไปเป็นกลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่อง รวมถึงภาษาทะวืง ภาษาชุต ภาษากูออย ฯลฯ[9] คำว่า "เวียตติก" ถูกเสนอขึ้นโดยเฮส์ (1992)[10] ที่เสนอให้มีการจำแนกกลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่องเสียใหม่ โดยกำหนดให้สาขาย่อยของกลุ่มภาษาเวียตติก มีเพียงแค่ภาษาเวียดนามและภาษาเหมื่อง ในขณะที่เฌราร์ ดิฟโฟลธ เสนอให้มีการใช้คำว่า "เวียตติก" ซึ่งมีข้อเสนอต่างไปเล็กน้อยในเรื่องของการจัดตระกูลย่อยของภาษา โดยกำหนดให้คำว่า "เหวียด-เหมื่อง" หมายถึงกลุ่มภาษาที่ย่อยลงไป (อยู่ภายในสาขาตระกูลภาษาเวียตติกตะวันออก) อันประกอบไปด้วยภาษาเวียดนาม, ภาษาเหมื่อง และภาษางวน (พบเจอได้ในจังหวัดกว๋างบิ่ญ)[11]

สำเนียงท้องถิ่น

[แก้]

ภาษาเวียดนามมีสำเนียงท้องถิ่นที่หลากหลาย แต่โดยมากถือว่ามี 3 หลัก ดังนี้

ถิ่นหลัก ท้องถิ่น ชื่อในยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส
เวียดนามตอนเหนือ ถิ่นฮานอย, ถิ่นอื่นทางเหนือ: ไฮฟอง และถิ่นระดับจังหวัดจำนวนมาก ตังเกี๋ย
เวียดนามตอนกลาง ถิ่นเว้, ถิ่นเหงะอาน, ถิ่นกว๋างนาม อันนัมสูง
เวียดนามตอนใต้ ถิ่นไซ่ง่อน, ถิ่นแม่น้ำโขง (ตะวันตกไกล) โคชินไชนา

ภาษาถิ่นเหล่านี้มีน้ำเสียง การออกเสียง และบางครั้งก็มีคำศัพท์ที่แตกต่างไปบ้าง แต่ภาษาถิ่นเฮว้จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างค่อนข้างมากจากภาษาถิ่นอื่น ๆ วรรณยุกต์ "หอย" และ "หงา" มีความแตกต่างในภาคเหนือ แต่กลืนเป็นวรรณยุกต์เดียวกันในภาคใต้ ส่วนพยัญชนะ ch และ tr นั้นจะออกเสียงแตกต่างกันในถิ่นใต้และกลาง แต่รวมเป็นเสียงเดียวในถิ่นเหนือ สำหรับความแตกต่างด้านไวยากรณ์นั้นไม่ปรากฏ

ระบบเสียง

[แก้]

เสียงสระ

[แก้]
  หน้า กลาง หลัง
กึ่งกลาง ia/iê [iə̯] ưa/ươ [ɨə̯] ua/uô [uə̯]
ปิด i/y [i] ư [ɨ] u [u]
กึ่งกลาง/
กลาง
ê [e] ơ [əː]
â [ə]
ô [o]
กึ่งเปิด/
เปิด
e [ɛ] a [aː]
ă [a]
o [ɔ]

เสียงพยัญชนะ

[แก้]

เสียงพยัญชนะในภาษาเวียดนามมีหน่วยเสียงตามตารางทางด้านล่าง โดยอักษรทางด้านซ้ายเป็นอักษรที่ใช้เขียนแทนหน่วยเสียงนั้น ๆ ในภาษาเวียดนาม ในขณะที่อักษรด้านขวาเป็นสัทอักษร

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m [m] n [n] nh [ɲ] ng/ngh [ŋ]
กัก ไม่ก้อง p [p] t [t] tr [ʈ] ch [c] c/k/q [k]
พ่นลม th [tʰ]
ก้อง b [[เสียงลมเข้า ริมฝีปาก ก้อง| [ɓ]]] đ [[เสียงลมเข้า ปุ่มเหงือก ก้อง| [ɗ]]]
เสียดแทรก ไม่ก้อง ph [f] x [s] s [ʂ~s] kh [x~kʰ] h [h]
ก้อง v [v] d/gi [z~j] g/gh [ɣ]
เปิด l [l] y/i [j] u/o [w]
รัว r [r]

เสียงวรรณยุกต์

[แก้]

นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาภาษาเวียดนามและจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่นเดียวกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาระบบคำสองพยางค์ (disyllable) และมีลักษณะน้ำเสียง (register) เป็นลักษณะสำคัญของภาษา อีกทั้งเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันได้พัฒนาระบบเสียงวรรณยุกต์ขึ้นใช้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์อันได้แก่ภาษาตระกูลไทที่อยู่โดยรอบและภาษาจีนที่เข้ามาปกครองเวียดนามในขณะนั้น

สระในภาษาเวียดนามนั้น ออกเสียงโดยมีวรรณยุกต์ภายใน (thanh หรือ thanh điệu) โดยวรรณยุกต์มีความแตกต่างกันที่

  • ระดับเสียง
  • ความยาว
  • น้ำเสียงขึ้นลง
  • ความหนักแน่น
  • การออกเสียงคอหอย (ลักษณะเส้นเสียง)

เครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์นั้น ปกติจะเขียนเหนือหรือใต้สระ [ส่วนใหญ่เขียนไว้เหนือสระ แต่วรรณยุกต์หนั่ง (nặng) เป็นจุดใต้สระ] วรรณยุกต์ทั้ง 6 ในภาษาถิ่นเหนือ (รวมฮานอยด้วย) มีดังนี้

ชื่อ ลักษณะ เครื่องหมาย ตัวอย่าง ตัวอย่างสระ ออกเสียง
งาง (ngang)   'ระดับ' สูงระดับ ˧ (ไม่มีเครื่องหมาย) ma  'ผี' a อา
ฮเหวี่ยน (huyền)   'แขวน' ต่ำตก ˨˩ `  'แต่' à อ่า
ซัก (sắc)   'คม' สูงขึ้น ˧˥ ´  'แก้ม, แม่ (ถิ่นใต้) ' á อ๊า
หอย (hỏi)   'ถาม' ต่ำขึ้น ˧˩˧  ̉ mả  'หลุมศพ, สุสาน' อ๋า
หงา (ngã)   'ตก' สูงขึ้นหยุด ˧˥ˀ ˜  'ม้า (จีน-เวียดนาม), รหัส' ã อะ-อ๊ะ
หนั่ง (nặng)   'หนัก' ต่ำตกหยุด ˧˨ˀ  ̣ mạ  'สีข้าว' อะ (เสียงหนัก)

ไวยากรณ์

[แก้]

ภาษาเวียดนามเป็นภาษารูปคำโดดเช่นเดียวกับภาษาจีนและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ไวยากรณ์เน้นที่การเรียงลำดับคำและโครงสร้างประโยคมากกว่าการผันคำ แสดงโดยการเพิ่มคำเช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดด แต่ก็มีคำสองพยางค์อยู่เป็นจำนวนมาก การเรียงคำในประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม

กาล

[แก้]

ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องแสดง โดยทั่วไปอดีตแสดงโดยคำว่า đã ปัจจุบันกาลกำลังกระทำ เติม đang อนาคตเติม sẽ

โครงสร้างแสดงหัวข้อ

[แก้]

เป็นโครงสร้างประโยคที่สำคัญในภาษาเวียดนาม ตัวอย่างเช่น Tôi đọc sách này rồi = ฉันอ่านหนังสือนี้แล้ว อาจเรียงประโยคใหม่เป็น Sách này thi tôi đọc rồi = หนังสือนี้น่ะฉันอ่านแล้ว (thi เป็นตัวแสดงหัวข้อ)

พหูพจน์

[แก้]

โดยทั่วไปไม่ต้องแสดง ถ้าแสดงจะใช้คำเติมเข้าไปในประโยค เช่น những, các, chúng

ลักษณนาม

[แก้]

ภาษาเวียดนามมีคำลักษณนามใช้แสดงลักษณะของนามเช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาจีน เช่น con ใช้กับสัตว์ cái ใช้กับสิ่งของไม่มีชีวิต คำลักษณนามบางคำอาจใช้ร่วมกันได้ เช่น cái con

คำสรรพนาม

[แก้]

คำสรรพนามในภาษาเวียดนามต่างจากภาษาอังกฤษ คือคำสรรพนามแต่ละคำไม่ได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจนว่าเป็นบุรุษที่ 1 2 หรือ 3 ขึ้นกับผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนั้นยังต้องระมัดระวังในการระบุความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งขึ้นกับอายุและเพศ

การซ้ำคำ

[แก้]

พบมากในภาษาเวียดนามซึ่งเป็นการสร้างคำใหม่ ซึ่งมีความหมายต่างไปจากเดิม เช่นเป็นการลดหรือเพิ่มความเข้มของคำคุณศัพท์

คำศัพท์

[แก้]

คำศัพท์ทางการเมืองและวิทยาศาสตร์โดยมากมาจากภาษาจีน กว่าร้อยละ 70 ของคำศัพท์มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน คำประสมหลายคำเป็นการประสมระหว่างคำดั้งเดิมในภาษาเวียดนามกับคำยืมจากภาษาจีน ซึ่งคำเหล่านี้ปัจจุบันมักถูกแทนที่ด้วยคำเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ เช่น tivi มาจาก TV

ระบบการเขียน

[แก้]

ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายังเวียดนามนั้น ภาษาเวียดนามมีระบบการเขียนสองแบบ ซึ่งทั้งสองแบบก็มีที่มาจากอักษรจีนเช่นเดียวกัน

  • จื๋อญอ (chữ nho, 字儒) หรือฮ้านตึ (Hán tự, 漢字) คืออักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาจีนโบราณ
  • จื๋อโนม (chữ nôm, 字喃) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยนำอักษรจีนมาดัดแปลงเล็กน้อย

ปัจจุบันภาษาเวียดนามเขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ แปลว่า "อักษรของภาษาประจำชาติ") ซึ่งเป็นอักษรละตินที่เพิ่มเติมเครื่องหมายต่าง ๆ เข้ามาเพื่อให้มีอักษรเพียงพอที่จะใช้เขียนภาษา อักษรดังกล่าวได้รับการคิดค้นขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา โดยมีรากฐานมาจากระบบที่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสคิดไว้ก่อนหน้านั้น ในระหว่างที่เวียดนามยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น จื๋อโกว๊กหงือได้เป็นอักษรราชการของอาณานิคม ซึ่งได้ทำให้อักษรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ จื๋อโกว๊กหงือในปัจจุบันมีรูปแบบการเขียนที่อ้างอิงการออกเสียงของภาษาถิ่นเวียดนามกลาง ซึ่งสระและพยัญชนะท้ายจะคล้ายคลึงกับภาษาถิ่นเหนือ ส่วนพยัญชนะต้นจะคล้ายกับภาษาถิ่นใต้

ตัวอย่างประโยค

[แก้]

คำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

  • Xin chào [ซีนจ่าว] = สวัสดี
  • Bạn [บั่น] = เพื่อน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Citizens belonging to minorities, which traditionally and on long-term basis live within the territory of the Czech Republic, enjoy the right to use their language in communication with authorities and in front of the courts of law (for the list of recognized minorities see National Minorities Policy of the Government of the Czech Republic, Belorussian and Vietnamese since 4 July 2013, see Česko má nové oficiální národnostní menšiny. Vietnamce a Bělorusy). The article 25 of the Czech Charter of Fundamental Rights and Basic Freedoms ensures right of the national and ethnic minorities for education and communication with authorities in their own language. Act No. 500/2004 Coll. (The Administrative Rule) in its paragraph 16 (4) (Procedural Language) ensures, that a citizen of the Czech Republic, who belongs to a national or an ethnic minority, which traditionally and on long-term basis lives within the territory of the Czech Republic, have right to address an administrative agency and proceed before it in the language of the minority. In the case that the administrative agency doesn't have an employee with knowledge of the language, the agency is bound to obtain a translator at the agency's own expense. According to Act No. 273/2001 (About The Rights of Members of Minorities) paragraph 9 (The right to use language of a national minority in dealing with authorities and in front of the courts of law) the same applies for the members of national minorities also in front of the courts of law.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Vietnamese at Ethnologue (27th ed., 2024) Closed access
  2. "Česko má nové oficiální národnostní menšiny. Vietnamce a Bělorusy". 3 July 2013.
  3. "Slovakia: Vietnamese community granted national minority status | European Website on Integration". 7 June 2023.
  4. จาก Ethnologue (2009, 2013)
  5. Driem, George van (2001). Languages of the Himalayas, Volume One. BRILL. p. 264. ISBN 90-04-12062-9. Of the approximately 90 millions speakers of Austroasiatic languages, over 70 million speak Vietnamese, nearly ten million speak Khmer and roughly five million speak Santali.
  6. "Vietnamese literature". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.
  7. Li, Yu (2020). The Chinese Writing System in Asia: An Interdisciplinary Perspective. Routledge. pp. 102–103. ISBN 978-1-00-069906-7.
  8. "Mon–Khmer languages: The Vietic branch". SEAlang Projects. สืบค้นเมื่อ November 8, 2006.
  9. Ferlus, Michel. 1996. Langues et peuples viet-muong. Mon-Khmer Studies 26. 7–28.
  10. Hayes, La Vaughn H (1992). "Vietic and Việt-Mường: a new subgrouping in Mon-Khmer". Mon-Khmer Studies. 21: 211–228.
  11. Diffloth, Gérard. (1992). "Vietnamese as a Mon-Khmer language". Papers from the First Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society, 125–128. Tempe, Arizona: Program for Southeast Asian Studies.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  翻译: