ข้ามไปเนื้อหา

มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค
Mustafa Kemal Atatürk
ประธานาธิบดีตุรกี คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
29 ตุลาคม ค.ศ. 1923 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938
(15 ปี 12 วัน)
นายกรัฐมนตรีอิสเมท อีเนอนือ
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอิสเมท อีเนอนือ
นายกรัฐมนตรีรัฐบาลสมัชชาแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 – 24 มกราคม ค.ศ. 1921
(0 ปี 266 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเฟฟซี ชักมัค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤษภาคม ค.ศ. 1881
เทสซาโลนีกี, ประเทศกรีซ , จักรวรรดิออตโตมัน
เสียชีวิต10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 (57 ปี)
อิสตันบูล ประเทศตุรกี
คู่สมรสลาทีเฟ อูชักลือกิล
ลายมือชื่อ

เคมัล อาทาทืร์ค[1] (หรือเขียนอีกอย่างว่า คามัล อาทาทืร์ค,[2] มุสทาฟา เคมัล พาชา; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1881 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) เป็นจอมพล นักปฏิวัติ รัฐบุรุษ นักเขียนชาวตุรกี และเป็นบิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีคนแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1938 การปกครองแบบเผด็จการอย่างมีเมตตากรุณาของเขาได้ยอมรับการปฏิรูปที่ก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้ตุรกีกลายเป็นประเทศที่เป็นรัฐฆราวาส และอุตสาหกรรมที่ทันสมัย[3][4][5] ด้วยอุดมการณ์ในฆราวาสนิยมและชาตินิยม นโยบายของเขาได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ลัทธิเคมัล เนื่องจากความสำเร็จทางทหารและการเมืองของเขาทำให้อาทาทืร์คได้รับการยกย่องตามผลศึกษาว่า เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20[6]

อาทาทืร์คได้มีชื่อเสียงในบทบาทของเขาในการรักษาชัยชนะของตุรกีออตโตมันในยุทธการที่กัลลิโพลี (ค.ศ. 1915) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[7] ภายหลังจากความปราชัยและการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน เขาได้นำขบวนการชาตินิยมตุรกี ซึ่งได้ต่อต้านการแบ่งแยกแผ่นดินใหญ่ของตุรกีท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรผู้มีชัย ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในเมืองหลวงตุรกีในปัจจุบันคือ อังการา เขาได้มีชัยเหนือกองกำลังที่ถูกส่งมาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนั้นชัยชนะที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ต่อมาถูกเรียกว่า สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี เขาได้ดำเนินทำการยุบจักรวรรดิออตโตมันที่เสื่อมโทรมและประกาศวางรากฐานของสาธารณรัฐตุรกีขึ้นมาแทน

ในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐตุรกีที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น อาทาทืร์คริเริ่มโครงการปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างเข้มงวด โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างรัฐชาติแบบฆราวาสที่ก้าวหน้าและทันสมัย เขาได้ทำให้การเข้าศึกษาระดับชั้นประถมแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและเป็นภาคบังคับ เปิดโรงเรียนใหม่หลายพันแห่งทั่วประเทศ เขายังได้แนะนำอักษรตุรกีที่ใช้ภาษาละตินเป็นพื้นฐาน แทนที่ตัวอักษรตุรกีออตโตมันแบบโบราณ สตรีชาวตุรกีได้รับสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองในช่วงการขึ้นครองตำแหน่งของอาทาทืร์คได้นำหน้าไปหลายประเทศตะวันตก[8] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีที่ได้รับสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นตามกฎหมายที่ 1580 เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1930 และไม่กี่ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1934 สิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเต็มรูปแบบเร็วกว่าประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลก[9]

รัฐบาลของเขาได้ดำเนินนโยบาย Turkification พยายามที่จะสร้างชาติที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและรวมชาติเป็นปึกแผ่น[10][11][12] ภายใต้การปกครองอาทาทืร์ค ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวตุรกีได้ถูกกดดันให้พูดภาษาตุรกีในที่สาธารณะ[13] ภูมินามวิทยาที่ไม่ใช่ภาษาตุรกีและนามสกุลของชนกลุ่มน้อยจะต้องเปลี่ยนเป็นการแปลเป็นภาษาตุรกี[14][15] รัฐสภาตุรกีได้มอบนามสกุลให้แก่เขาว่า อาทาทืร์ค ในปี ค.ศ. 1934 ซึ่งหมายความว่า "บิดาแห่งชาวเติร์ก" เพื่อเป็นการรับรู้ถึงบทบาทที่เขาเล่นในการสร้างสาธารณรัฐตุรกียุคสมัยใหม่[16] เขาถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ที่พระราชวังโดลมาบาห์เชในกรุงอิสตันบูล ด้วยวัย 57 ปี[17] เขาได้รับการสืบทอดตำแหน่งในฐานะประธานาธิบดีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานในสมัยของเขาคือ อิสเมท อีเนอนือ[18] และได้รับเกียรติด้วยงานศพของรัฐ สุสานที่เป็นสัญลักษณ์ของเขาในอังการา ซึ่งถูกสร้างและเปิดทำการในปี ค.ศ. 1953 ได้ถูกล้อมรอบด้วยสวนสาธารณะที่เรียกว่า สวนสาธารณะสันติภาพ เพื่อเป็นเกียรติแก่การแสดงความคิดเห็นของเขาที่มีชื่อเสียงด้วยคำว่า "สันติสุขที่บ้าน สันติภาพในโลก"

ในปี ค.ศ. 1981 เมื่อครบรอบร้อยปีของการเกิดของอาทาทืร์ค ความทรงจำของเขาได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติและยูเนสโก ซึ่งได้ประกาศว่าเป็นปีแห่งอาทาทืร์คในโลก และได้รับรองมติการครบรอบร้อยปีของอาทาทืร์ค ได้มีการอธิบายถึงเขาว่า"เป็นผู้นำแห่งการสู้รบครั้งแรกที่ต่อต้านลัทธิการล่าอาณานิคมและจักรวรรดินิยม" และ "เป็นผู้ก่อตั้งที่น่าทึ่งของความเข้าใจระหว่างประชาชนและความสงบสุขที่ยั่งยืนระหว่างประชาชาติของโลก และเขาทำงานมาตลอดทั้งชีวิตของเขาเพื่อการพัฒนาความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างประชาชนโดยปราศจากความแตกต่าง"[19][20] อาทาทืร์คได้กลายเป็นบุคคลที่ถูกรำลึกไว้อาลัยถึงโดยอนุสรณ์สถานหลายแห่งและสถานที่ที่มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในตุรกีและทั่วโลก อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซได้เป็นผู้ส่งต่อชื่อของอาทาทืร์คสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี ค.ศ. 1934[21]

ชีวิตในวัยเด็ก

[แก้]

ชื่อเดิมของมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คมีเพียงแค่ มุสทาฟา เท่านั้น ส่วนชื่อ เคมัล นั้นได้มาจากครูคณิตศาสตร์ของเขา ที่ตั้งให้เพราะผลการเรียนที่ดีเยี่ยม[22] ในช่วงวัยเด็ก แม่ของเขาได้พยายามให้เขาเข้าเรียนในโรงเรียนศาสนา ซึ่งเขาก็อิดออดที่จะไปเรียน แต่ก็ได้เข้าเรียนอยู่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ต่อมาเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Şemsi Efendi ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับศาสนาน้อยกว่าตามคำแนะนำของพ่อของเขา ต่อมาเขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมต้นทหารในเมืองซาโลนิกา (ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน) ในปีค.ศ. 1893 และได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายทหารในเมือง Manastır (ปัจจุบันคือเมือง Bitola ในมาซิโดเนีย) ในปีค.ศ. 1896 ในปีค.ศ. 1899 เข้าได้เข้าเรียนในวิทยาลัยสงครามในเมืองอิสตันบูล และจบการศึกษาในปีค.ศ. 1902 และได้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาระดับสูงทางด้านสงครามอีกแห่งหนึ่งในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1905

อาชีพทหาร

[แก้]

หลังจากจบการศึกษา เขาได้รับแต่งตั้งยศร้อยโทและไปประจำการที่ดามัสกัส เขาได้เข้าร่วมสมาคมปฏิวัติที่ตั้งขึ้นมาอย่างลับ ๆ ชื่อ "มาตุภูมิและเสรีภาพ" (Vatan ve Hürriyet) ในปีค.ศ. 1907 เขาได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยเอกและย้ายไปประจำการที่ Manastır เขาเข้าร่วม Committee of Union and Progress แต่ต่อมาเขาก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านนโยบายของบรรดาผู้นำองค์กร ในปีค.ศ. 1908 เขามีบทบาทในการปฏิวัติยังเติร์กซึ่งเขายึดอำนาจจากสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ในปีค.ศ. 1910 เขามีส่วนร่วมใน Picardie army maneuvers ในฝรั่งเศส ในปีค.ศ. 1911เขาทำงานในกระทรวงสงครามในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และได้รับคำสั่งให้ไปต่อสู้ในสงครามอิตาลี - ตุรกี เขากลับมายังเมืองหลวงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1912หลังจากสงครามบอลข่านเริ่มต้นขึ้น ระหว่างสงครามบอลข่านครั้งแรก เขาได้ต่อสู้กับกองทัพบัลแกเรียที่เมือง Gallipoli และ Bolayır บนชายฝั่งเธรซ ในปีค.ศ. 1913 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตทหารประจำโซเฟีย และได้เลื่อนยศเป็นพันโท

อ้างอิง

[แก้]
  1. ID card from 1934
  2. ID card from 1935
  3. "Atatürk, Kemal", World Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ), Philip's, 2014, doi:10.1093/acref/9780199546091.001.0001, ISBN 9780199546091, สืบค้นเมื่อ 9 June 2019
  4. Books, Market House Books Market House (2003), Books, Market House (บ.ก.), "Atatürk, Kemal", Who's Who in the Twentieth Century (ภาษาอังกฤษ), Oxford University Press, doi:10.1093/acref/9780192800916.001.0001, ISBN 9780192800916, สืบค้นเมื่อ 9 June 2019
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Wolf
  6. "EINSTEIN AND ATATURK (Part 1), National Geographic Society Newsroom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
  7. Zürcher, Turkey : a modern history, 142
  8. Mastering Modern World History by Norman Lowe, second edition
  9. Türkiye'nin 75 yılı, Tempo Yayıncılık, İstanbul, 1998, p. 48, 59, 250
  10. Sofos, Umut Özkırımlı & Spyros A. (2008). Tormented by history: nationalism in Greece and Turkey. New York: Columbia University Press. p. 167. ISBN 9780231700528.
  11. Toktaş, Şule (2005). "Citizenship and Minorities: A Historical Overview of Turkey's Jewish Minority". Journal of Historical Sociology. 18 (4): 394–429. doi:10.1111/j.1467-6443.2005.00262.x. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013.
  12. Jongerden, Joost; Verheij, Jelle, บ.ก. (3 August 2012). Social relations in Ottoman Diyarbekir, 1870–1915. Leiden: Brill. p. 300. ISBN 978-90-04-22518-3.
  13. Kieser, Hans-Lukas, บ.ก. (2006). Turkey beyond nationalism: towards post-nationalist identities ([Online-Ausg.] ed.). London: Tauris. p. 45. ISBN 9781845111410. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013.
  14. Öktem, Kerem (2008). "The Nation's Imprint: Demographic Engineering and the Change of Toponymes in Republican Turkey". European Journal of Turkish Studies (7). doi:10.4000/ejts.2243. สืบค้นเมื่อ 18 January 2013.
  15. Aslan, Senem (29 December 2009). "Incoherent State: The Controversy over Kurdish Naming in Turkey". European Journal of Turkish Studies. Social Sciences on Contemporary Turkey (10). doi:10.4000/ejts.4142. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013. the Surname Law was meant to foster a sense of Turkishness within society and prohibited surnames that were related to foreign ethnicities and nations
  16. "Mustafa Kemal Atatürk'ün Nüfus Hüviyet Cüzdanı. (24.11.1934)". www.isteataturk.com. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
  17. "Turkey commemorates Atatürk on 78th anniversary of his passing". Hürriyet Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.
  18. Jayapalan, N. (April 1999). Modern Asia Since 1900 (ภาษาอังกฤษ). Atlantic Publishers & Dist. ISBN 9788171567515.
  19. "ATATURK: Creator of Modern Turkey". www.columbia.edu. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
  20. Landau, Jacob M. (1984). Atatürk and the Modernization of Turkey (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-9004070707.
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nobel
  22. "Mustafa Kemal Atatürk". Turkish Embassy website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
ก่อนหน้า มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ถัดไป
สถาปนาสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดีแห่งตุรกี
(29 ตุลาคม พ.ศ. 2466 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)
อิสเมท อีเนอนือ
  翻译: