รายชื่อตำแหน่งทางวิชาการ
หน้าตา
ตำแหน่งทางวิชาการ คือ ตำแหน่งของบุคคลในแวดวงวิชาการสำหรับนักวิชาการ อาจารย์ หรือนักเรียนในการทำวิจัย และการสอนในสถาบันอุดมศึกษา
ประเทศไทย
[แก้]- ศาสตราจารย์ ย่อว่า ศ.
- รองศาสตราจารย์ ย่อว่า รศ.
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ย่อว่า ผศ.
- อาจารย์ หรือ ตำแหน่งอื่นตามที่ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) กำหนด
ตำแหน่งทางวิชาการจะได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษา โดยผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการนั้น มีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการที่ได้รับเป็นคำนำหน้านามได้ในการลงชื่อ หนังสือ เอกสาร งานสารบรรณหรือการเรียกขานใด ๆ เสมือนยศหรือคำนำหน้านามอย่างอื่น ซึ่งการเขียนตำแหน่งวิชาการที่ใช้นำหน้าคำนามนั้น ให้เรียงลำดับ ดังนี้ (1) ตำแหน่งทางวิชาการ (2) ยศ (3) บรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และมีสิทธิใช้คำนำหน้านามนั้นตามกฎหมาย ระเบียบหรือประกาศของทางราชการ
โดยผู้ที่ใช้ตำแหน่งทางวิชาการนำหน้าคำนามนั้น ไม่สมควรใช้คำว่า นาย นาง หรือนางสาว นำหน้านามพร้อมกับตำแหน่งทางวิชาการ
ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]- ตำแหน่งประจำ
- ศาสตราจารย์ (เทียบเท่ากับ ศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ ในสหรัฐอเมริกา) จะถูกเรียกว่า เคียวจุ (ญี่ปุ่น: 教授; โรมาจิ: Kyōju)
- รองศาสตราจารย์ (เทียบเท่ากับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสหรัฐอเมริกา) จะถูกเรียกว่า จุงเกียวจุ (ญี่ปุ่น: 准教授; โรมาจิ: Junkyōju)
- ตำแหน่งชั่วคราว
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สายงานสอน จะถูกเรียกว่า โคชิ (ญี่ปุ่น: 講師; โรมาจิ: Kohshi)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สายงานวิจัย จะถูกเรียกว่า โจะเคียว (ญี่ปุ่น: 助教; โรมาจิ: Jokyō)
สหรัฐอเมริกา
[แก้]- ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ (professor emeritus - ชาย, professor emerita - หญิง)
- ศาสตราจารย์ (professor)
- รองศาสตราจารย์ (associate professor)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (assistant professor)
- ศาสตราจารย์คลินิก (adjunct professor)
- ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (visiting professor)
- นักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoctoral appointment)
- ผู้ช่วยสอน
- ผู้ช่วยวิจัย
สหราชอาณาจักร
[แก้]- ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ (professor emeritus - ชาย, professor emerita - หญิง)
- ศาสตราจารย์เกียรติยศ(Chair professor)
- ศาสตราจารย์ (Professor)
- รองศาสตราจารย์ (Reader / Senior Lecturer)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Lecturer)
- อาจารย์ (Instructor)
- นักวิจัยอาวุโส (Senior research fellow)
- นักวิจัย (Research fellow)
- นักวิจัยหลังปริญญาเอก (Postdoctoral associate)
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ (emeritus professor) เรียกว่า มยงเย คโยซู (เกาหลี: 명예교수; ฮันจา: 正敎授; อาร์อาร์: myeong-ye-gyosu)
- ศาสตราจารย์ (professpor) เรียกว่า ชอง คโยซู (เกาหลี: 정교수; ฮันจา: 正敎授; อาร์อาร์: jeong-gyosu)
- รองศาสตราจารย์ (associate professor) เรียกว่า พู คโยซู (เกาหลี: 부교수; ฮันจา: 副敎授; อาร์อาร์: bu-gyosu)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (assistant professor) เรียกว่า โช คโยซู (เกาหลี: 조교수; ฮันจา: 助敎授; อาร์อาร์: jo-gyosu)
- อาจารย์ผู้สอน (Instructor) คโยซู(เกาหลี: 교수; ฮันจา: 敎授; อาร์อาร์: gyo-su)
อ้างอิง
[แก้]- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
- การใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม-ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2007-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ. ๒๕๓๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๑๔ ลว ๑๔ ส.ค. ๓๖
- ↑ "교수", 위키백과, 우리 모두의 백과사전 (ภาษาเกาหลี), 2024-05-12, สืบค้นเมื่อ 2024-07-16
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-09. สืบค้นเมื่อ 2024-07-16.