ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐโดมินิกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐโดมินิกัน

República Dominicana (สเปน)
คำขวัญDios, Patria, Libertad
(พระเจ้า ปิตุภูมิ เสรีภาพ)
ที่ตั้งของสาธารณรัฐโดมินิกัน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซานโตโดมิงโก
19°00′N 70°40′W / 19.000°N 70.667°W / 19.000; -70.667
ภาษาราชการภาษาสเปน
การปกครองประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี
Luis Abinader
Raquel Peña
เอกราช 
จาก เฮติ
• ประกาศ
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2387
พื้นที่
• รวม
48,730 ตารางกิโลเมตร (18,810 ตารางไมล์) (128)
1.6
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
10,648,791 คน[1] (87)
• สำมะโนประชากร 2545
10,400,000
183 ต่อตารางกิโลเมตร (474.0 ต่อตารางไมล์) (58)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 172.576 พันล้าน
$ 16,965
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 74.873 พันล้าน
$ 7,360
จีนี (2561)Negative increase 43.7[2]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.756[3]
สูง · อันดับที่ 88
สกุลเงินเปโซ (DOP)
เขตเวลาUTC-4
รหัสโทรศัพท์1-809 และ +1-829
รหัส ISO 3166DO
โดเมนบนสุด.do

สาธารณรัฐโดมินิกัน (อังกฤษ: Dominican Republic; สเปน: República Dominicana) เป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 ใน 3 ทางทิศตะวันออกของเกาะฮิสปันโยลาซึ่งขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีส เกาะนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางทิศตะวันตกของเปอร์โตริโก และอยู่ทางทิศตะวันออกของคิวบาและจาเมกา โดยสาธารณรัฐโดมินิกันมีอาณาเขตจรดเฮติทางทิศตะวันตก

สาธารณรัฐโดมินิกันเป็นคนละประเทศกับดอมินีกา ซึ่งเป็นประเทศในทะเลแคริบเบียนอีกประเทศหนึ่ง

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แผนที่สาธารณรัฐโดมินิกัน

สาธารณรัฐโดมินิกันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะฮิสปันโยลา ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทะเลแคริบเบียนรองจากเกาะคิวบา โดยเกาะได้ถูกแบ่งเป็นประเทศเฮติทางทิศตะวันตก สาธารณะรัฐโดมินิกันมีพื้นที่ประมาณ 48,442 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนรองจากคิวบาอีกด้วย เมืองหลวงคือซานโตโดมิงโกตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะ พื้นที่ทั้งหมดของประเทศตั้งอยู่ในเขตร้อนจึงทำให้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และยังได้รับอิทธิพลจากพายุเฮอร์ริเคนในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สมัยก่อนอาณานิคม

[แก้]

สมัยอาณานิคม

[แก้]

เอกราชและสงคราม

[แก้]

หลังจากโดมินิกันประกาศแยกตัวจากสเปนได้เพียง 9 สัปดาห์ ก็ถูกเฮติเข้าผนวกฝั่งโดมินิกัน เหตุเพราะในขณะนั้นสเปนถูกนโปเลียนยึดครองอยู่ โดมินิกันอยู่ภายใต้การปกครองของเฮติ 22 ปี จึงทำสงครามแยกตัวออกจากเฮติ โดมินิกันจึงเป็นเอกราชแต่ก็เป็นอยู่ได้เกือบ 20 ปี สเปนก็เข้ามาปกครองอีก 5 ปี แล้วจึงได้ทำการประกาศเอกราชอีกครั้ง

การเมืองการปกครอง

[แก้]

รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีแบบเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา

ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี ซึ่งดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐและประมุขของรัฐบาล มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Leonel Fernández Reyna ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่ 3 เมื่อปี 2551 (สมัยแรก ปี 2539 และสมัยที่สอง ปี 2547) และการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2555

บริหาร

[แก้]

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร โดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐบาลชุดปัจจุบันนำโดยพรรค PLD ซึ่งครองเสียงข้างมากในรัฐสภาด้วย

นิติบัญญัติ

[แก้]

ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ประกอบด้วยวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิก 32 คน โดยมีที่มาจากการเลือกตั้งใน 31 จังหวัดๆ ละ 1 คน และเขตประเทศ 1 คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 183 คน

ตุลาการ

[แก้]

ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาล ซึ่งมีเขตจังหวัดเป็นเขตอำนาจศาล และศาลฎีกา (ผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้รับแต่งตั้งจากสภาตุลาการแห่งชาติ)

สถานการณ์สำคัญ

[แก้]

นาย Leonel Fernandez ประธานาธิบดีคนปัจจุบันแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้วเป็นสมัยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่อนุญาตให้นาย Fernanadez ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกในสมัยหน้า (ค.ศ. 2012) แต่ด้วยฐานเสียงสนับสนุนที่เข้มแข็งของพรรค PLD ในรัฐสภาโดมินิกัน อาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นาย Fernanadez สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งก็เป็นได้ ทั้งนี้ โดมินิกันมีปัญหาสำคัญที่รอการแก้ไข ได้แก่ การขาดแคลนพลังงาน การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด รวมถึงการบริหารการขาดดุลงบประมาณของประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่แสดงจังหวัดของสาธารณรัฐโดมินิกัน

สาธารณรัฐโดมินิกันแบ่งออกเป็น 31 จังหวัด (provincia) ส่วนกรุงซานโตโดมิงโกเมืองหลวงของประเทศนั้น อยู่ในดินแดนดิสตริโตนาซิโอนัล

  1. อาซัว
  2. บาโอรูโก
  3. บาราโอนา
  4. ดาฮาบอน
  5. ดัวร์เต
  6. เอลิอัสปิญญา
  7. เอลเซย์โบ
  8. เอร์มานัสมิราบัล
  9. เอสไปยัต
  10. อาโตมายอร์
  11. อินเดเปนเดนเซีย
  12. ลาอัลตากราเซีย
  13. ลาโรมานา
  14. ลาเบกา
  15. มาริอาตรินิดัดซานเชซ
  16. มอนเซญญอร์โนอูเอล
  17. มอนเตกริสติ
  18. มอนเตปลาตา
  19. เปเดร์นาเลส
  20. เปราเบีย
  21. ปูเอร์โตปลาตา
  22. ซามานา
  23. ซานเชซรามิเรซ
  24. ซานกริสโตบัล
  25. ซานโฮเซเดโอโกอา
  26. ซานฮวน
  27. ซานเปโดรเดมาโกริส
  28. ซานเตียโก
  29. ซานเตียโกโรดริเกซ
  30. ซานโตโดมิงโก
  31. บัลเบร์เด

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา

[แก้]

รัฐบาลประธานาธิบดี Fernandez มุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย นอกเหนือไปจากการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ นอกจากนี้ นาย Fernandez ยังพยายามเพิ่มบทบาทในระดับภูมิภาคของโดมินิกัน ด้วยการเข้าไปมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างโคลอมเบียกับเวเนซุเอลา รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูประเทศแก่เฮติภายหลังประสบภัยแผ่นดินไหวเมื่อต้นปี 2553 โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้โดมินิกันก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นตัวกลางประสานผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ

ที่ผ่านมา สาธารณรัฐโดมินิกันมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในทวีปอเมริกาโดยเฉพาะเวเนซุเอลา ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีการทำความตกลงซื้อขายน้ำมันที่เอื้อประโยชน์ให้โดมินิกันสามารถซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลาได้ในราคาถูก จึงสามารถแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของโดมินิกันได้เป็นอย่างดี ส่วนความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอย่างเฮตินั้น แม้โดมินิกันจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเฮติภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศ อาจถูกกระทบด้วยปัญหาผู้อพยพชาวเฮติที่เพิ่มจำนวนอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย สร้างภาระแก่รัฐบาลโดมินิกัน ซึ่งพยายามที่จะผลักดันกลุ่มคนเหล่านั้นออกจากดินแดนของตน

กองทัพ

[แก้]

กองกำลังกึ่งทหาร

[แก้]

กองกำลังกึ่งทหารของสาธารณรัฐโดมินิกัน ก่อตั้งโดย de la República Dominicana ประกอบด้วยประมาณ 44,000 บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นหลักสำหรับการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทหารรวมทั้งผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่ไม่ใช่ทหารที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ภารกิจหลักคือการปกป้องประเทศและปกป้องความสมบูรณ์ของดินแดนของประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

ผสม 73% ผิวขาว 16% ผิวดำ 11%

ชนพื้นเมือง

[แก้]

เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียแดงพื้นเมือง) 60%, อเมริกาอินเดียแดง 30%, คอเคเชียน 9% และอื่นๆ 1%

ภาษา

[แก้]

ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รองลงมาคือภาษาฝรั่งเศส ซึ่งภาษาสเปนจะมีความแตกต่างทางสำเนียงไปจากประเทศอื่นๆในทวีปอเมริกาใต้ กล่าวได้ว่าแต่ละประเทศจะมีสำเนียงที่ต่างกัน และจะมีคำท้องถิ่น(บางคำ)เฉพาะของแต่ละประเทศอีกด้วย

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาในสาธารณรัฐโดมินิกันส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (82.7%) รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ (9.7%) และอื่นๆ คือ ไม่มีศาสนา (4.7%) ไม่ปรากฏ (2.7%) ศาสนอื่นๆ (0.7%)

ศาสนาในสาธารณรัฐโดมินิกัน (2010 census)[4]
โรมันคาทอลิก
  
82.7%
โปรแตสแตนต์
  
9.7%
ศาสนาอื่นๆ
  
0.2%
ไม่มีศาสนา
  
4.7%
ไม่ปรากฏ
  
2.7%

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. "GINI index (World Bank estimate) - Dominican Republic". World Bank. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  3. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 2010-census

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การท่องเที่ยว
พัฒนา และ สวัสดิการสังคม
Gastronomy
ดนตรี
  翻译: