ข้ามไปเนื้อหา

อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต
ชื่อ
IUPAC name
[(2R,3S,4R,5R) -5- (6-aminopurin-9-yl) -3,4-dihydroxyoxolan-2- yl]methyl (hydroxy-phosphonooxyphosphoryl) hydrogen phosphate
ชื่ออื่น
adenosine 5'- (tetrahydrogen triphosphate)
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.258 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  • InChI=1/C10H16N5O13P3/c11-8-5-9 (13-2-12-8) 15 (3-14-5) 10-7 (17) 6 (16) 4 (26-10) 1-25-30 (21,22) 28-31 (23,24) 27-29 (18,19) 20/h2-4,6-7,10,16-17H,1H2, (H,21,22) (H,23,24) (H2,11,12,13) (H2,18,19,20)/t4-,6-,7-,10-/m1/s1
    Key: ZKHQWZAMYRWXGA-KQYNXXCUBG
  • O=P (O) (O) OP (=O) (O) OP (=O) (O) OC[C@H]3O[C@@H](n2cnc1c (ncnc12) N) [C@H](O) [C@@H]3O
คุณสมบัติ
C10H16N5O13P3
มวลโมเลกุล 507.18 g/mol
pKa 6.5
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (อังกฤษ: adenosine triphosphate: ATP) เป็นสารให้พลังงานสูงแก่เซลล์ ผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือการหายใจระดับเซลล์และถูกใช้โดยกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สลายอาหาร , active transport ,move

ในสิ่งมีชีวิต ATP ถูกสร้างขึ้นด้วยวิถีทางต่าง ๆ ดังนี้

  • Substrate-level phosphorylation ATP สร้างขึ้นได้ โดยอาศัยพลังงานจากการย่อยสลายสารประกอบที่มีพลังงานสูงกว่า เช่น ใน ไกลโคไลซิส มีการย่อยฟอสโฟอีนอลไพรูเวต (Phosphoenolpyruvate) แล้วย้ายหมู่ฟอสเฟต ที่มีพลังงานสูงมาต่อกับ ADP ทำให้กลายเป็น ATP
  • ปฏิกิริยาออกซิเดทีพฟอสโฟรีเลชัน และปฏิกิริยาโฟโตฟอสโฟรีเลชัน ในกระบวนการเมแทบอลิซึมแบบออกซิเดทีพและกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จะทำให้เกิดความต่างของความเข้มข้นโปรตอน (H+) ระหว่างสองด้านของเยื่อหุ้มขึ้น (ในไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์) เมื่อมีการไหลกลับของโปรตอน จะมีพลังงานขับดันให้เกิดการสังเคราะห์ ATP จาก ADP และ Pi ขึ้นได้
  • ปฏิกิริยาของเอนไซม์ adenylate kinase AMP ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการย่อยสลายตัดเอาฟอสเฟตออกไป (เกิดขึ้นในบางกระบวนการ เช่น การ ออกซิเดชันของกรดไขมัน) จะสามารถกลับไปเป็น ATP ได้โดยผ่านขั้นตอนที่เร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ adenylate kinase

อ้างอิง

[แก้]
  翻译: