ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศกินี

พิกัด: 11°N 10°W / 11°N 10°W / 11; -10
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

11°N 10°W / 11°N 10°W / 11; -10

สาธารณรัฐกินี

République de Guinée (ฝรั่งเศส)
คำขวัญ"Travail, Justice, Solidarité" (ฝรั่งเศส)
"งาน ความยุติธรรม ความสามัคคี"
กินีในสีเขียวเข้ม
กินีในสีเขียวเข้ม
ที่ตั้งของ ประเทศกินี  (น้ำเงินเข้ม) – ในแอฟริกา  (ฟ้า & เทาเข้ม) – ในสหภาพแอฟริกา  (ฟ้า)
ที่ตั้งของ ประเทศกินี  (น้ำเงินเข้ม)

– ในแอฟริกา  (ฟ้า & เทาเข้ม)
– ในสหภาพแอฟริกา  (ฟ้า)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โคนาครี
9°31′N 13°42′W / 9.517°N 13.700°W / 9.517; -13.700
ภาษาราชการฝรั่งเศส
ภาษาท้องถิ่น
กลุ่มชาติพันธุ์
([1])
การปกครองรัฐเดี่ยว รัฐบาลชั่วคราวภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[2]
มามาดี ดูมบูยา
แบร์นาร์ กูมู
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช 
(เป็นอาณานิคมกินีของฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1891)
• จากฝรั่งเศส
2 ตุลาคม ค.ศ. 1958
• สาธารณรัฐ
2 ตุลาคม ค.ศ. 1958
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
2 ตุลาคม ค.ศ. 1958
• วันสาธารณรัฐที่สอง
3 เมษายน ค.ศ. 1984
5 กันยายน ค.ศ. 2021
พื้นที่
• รวม
245,857 ตารางกิโลเมตร (94,926 ตารางไมล์) (อันดับที่ 77)
น้อยมาก
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
12,395,924[3] (อันดับที่ 77)
• สำมะโนประชากร 2014
11,523,261[4]
40.9 ต่อตารางกิโลเมตร (105.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 164)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
2.6451 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
2,390 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
9.183 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
818 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
จีนี (2012)33.7[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.477[7]
ต่ำ · อันดับที่ 178
สกุลเงินฟรังก์กินี (GNF)
เขตเวลาUTC (เวลามาตรฐานกรีนิช)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+224
รหัส ISO 3166GN
โดเมนบนสุด.gn

กินี (อังกฤษ: Guinea; ฝรั่งเศส: Guinée) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐกินี (อังกฤษ: Republic of Guinea; ฝรั่งเศส: République de Guinée) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนด้านทิศเหนือจรดกินีบิสเซา และเซเนกัล พรมแดนด้านทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศมาลี ตะวันออกเฉียงใต้จรดโกตดิวัวร์ ทิศใต้จรดไลบีเรีย และตะวันตกจรดเซียร์ราลีโอน เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำไนเจอร์ แม่น้ำเซเนกัล และแม่น้ำแกมเบีย ชื่อกินี (ในทางภูมิศาสตร์แล้วเป็นชื่อที่ใช้เรียกดินแดนในเขตชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา และตอนเหนือของอ่าวกินี) มีต้นกำเนิดจากภาษาเบอร์เบอร์สามารถแปลได้ว่า "ดินแดนของคนผิวดำ"

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจและสังคม กินีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพาะบอกไซต์ ซึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตแร่บอกไซต์รายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก นอกจากนี้ยังมีทองคำและเพชรและแร่ธาตุอื่น ๆ นับแต่ปี 2547 ความต้องการแร่ธาตุและราคาซื้อขายในตลาดโลกได้ส่งผลให้กินีมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และภาคเหมืองแร่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออก

ภาคเกษตรกรรมยังคงเป็นหัวใจหลักของกินี โดยประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมูลค่าเพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออก

แม้ว่าประเทศกินีจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศกินียังคงประสบปัญหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงทางการเมือง การคอร์รัปชันที่มีอยู่สูง ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การขาดแรงงานมีฝีมือ ประกอบกับสถานการณ์การสู้รบในกินี - บิสเซา เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ซึ่งส่งผลให้มีการอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในกินี ทั้งนี้ กินียังถูกจัดไว้เป็นลำดับที่ 9 ในตารางประเทศล้มเหลว (failed states)

อย่างไรก็ตาม กีนีเริ่มพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อ รื้อฟื้นโครงการพัฒนาและความช่วยเหลือเพื่อการปลดหนี้ที่เคยถูกยกเลิกไป ตั้งแต่ปี 2546

สหประชาชาติจัดให้กินีอยู่ในอันดับที่ 178 จาก 189 ประเทศ ตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human development index - HDI) ในปี พ.ศ. 2562[7] ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นมาตรฐานสุขภาพที่ย่ำแย่ของชาวกินีและสาธารณูปโภค ที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานเหมืองแร่

ภายหลังการยึดอำนาจ ร้อยเอก Camara ได้ประกาศระงับการผลิต และส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะบ๊อกไซด์ ทองและเพชร ซึ่งจะได้มีการเจรจากับบริษัทที่รับสัมปทานเพื่อให้กินีได้รับผลประโยชน์ตอบ แทนมากที่สุด

นโยบายต่างประเทศ ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Conte กินีเอนเอียงเข้าหาตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและ EU ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญต่อกินีทั้งในด้านการค้าและการให้ความช่วยเหลือ ความสัมพันธ์ระหว่างกินีและประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากรัฐบาลกินีมักเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไลบีเรียและเซียร์ราลีโอนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากการคลี่คลายของปัญหาทางการเมืองของทั้งสองประเทศ

กินีและแอฟริกาใต้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น หลังจากการเยือนกินีของประธานาธิบดี Thabo Mbeki ในเดือนกรกฎาคม 2548 โดยแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงโคนักรีของกินี รวมทั้ง บริษัทเพชร De Beers ได้เข้าไปดำเนินกิจการในกินีอีกครั้ง

กินีประสบปัญหาการอพยพเข้ามาของประเทศเพื่อนบ้าน นับแต่ปี 2543 มีจำนวนผู้อพยพจากเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินี - บิสเซา เข้ามาในกินีประมาณ 750,000 คน โดยกินีได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้ามาแก้ปัญหานี้ ในปัจจุบัน กินียังมีผู้อพยพอยู่ประมาณ 39,000 คน

ประชาคมระหว่างประเทศได้ออกมาประณามการยึดอำนาจของร้อยเอก Camara และเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Abdoulaye Wade แห่งเซเนกัลได้แถลงที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ว่าทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนร้อยเอก Camara โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไม่ควรแทรกแซงกิจการภายในของกินี แต่ควรให้เวลากินีผลัดเปลี่ยนอำนาจอย่างสันติ ซึ่งคำแถลงดังกล่าวเป็นที่ประหลาดใจของหลายฝ่าย เนื่องจากสวนทางกับการประณามการยึดอำนาจโดยสหภาพยุโรป สหรัฐ ฯ รวมทั้งสหภาพแอฟริกา ซึ่งได้ประกาศยุติสมาชิกภาพของกินีในสหภาพ แอฟริกาเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ รัฐบาลของร้อยเอก Camara ยังได้รับการสนับสนุนจากนาย Muammar AL Gaddafi ประธานาธิบดีลิเบียซึ่งได้เดินทางเยือนกินีเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2552 อีกด้วย

ประชากร

[แก้]
  • เชื้อชาติ ชนเผ่าฟูลา 40% ชนเผ่ามาลินเก้ 30% ชนเผ่าซูซู 20%
  • ศาสนา อิสลาม 85% คริสต์ 8%

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The World Factbook – Central Intelligence Agency". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  2. President Alpha Condé has been captured by the military. For details, see 2021 Guinean coup d'état
  3. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  4. "Etat et Structure de la Population Recensement General de la Population et de l'habitation 2014" (PDF). Direction Nationale de la Statistique de Guinée. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Guinea". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 18 April 2012.
  6. "GINI index (World Bank estimate)". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
  7. 7.0 7.1 Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "UNHDR" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Davidson, Basil. "Guinea, Past and Present" (ต้องสมัครสมาชิก). History Today (June 1959) vol. 9, no. 6. pp. 392–398. Covers 1800 to 1959.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  翻译: