การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)
ปัญหา : คุณติดอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งเรื่องสี คุณจะลดช่องว่างระหว่างทีมออกแบบและทีมการตลาดได้อย่างไร
การแก้ไข : ฉันจะเรียกทุกคนในทีมที่มีปัญหา มานั่งคุยโดยพร้อมกัน และจะพิจารณาว่าทีมทั้งหมดนี้มีทั้งหมดกี่คน กลุ่มที่มีปัญหาแยกออกเป็นกี่กลุ่ม ยกตัวอย่างว่า
1) จำนวนคนทั้งหมด มี 10 คน แบ่งแยกกลุ่มปัญหาได้เป็น 2 กลุ่ม ให้ชื่อกลุ่มว่า P1 และ P2 จากนั้นฉันจะให้ทีมทั้ง 10 คน ยืนเป็นแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่ง แล้วให้ทั้งหมดนับเลย 1 และ 2 เริ่มจากคนแรกของแถว
2) ให้คนที่นับ 1 ไปรวมกันเป็นกลุ่ม G1 และให้คนที่นับ 2 ไปรวมกันเป็นกลุ่ม G2
เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ฉันจะให้คนทั้ง 2 กลุ่มแข่งขันกันเล่นเกม Jenga โดยที่แท่งไม้ Jenga จะมีหมายเลขลำดับอยู่ทุกแท่ง, การแข่งขันครั้งที่ 1 ให้ทีม P1 แข่งกับ P2, แต่ละทีมส่งตัวแทนออกมาดึงแท่งไม้ Jenga ออกคนละ 1 แท่งโดนที่ตึกไม่ถล่ม ทีมไหนทำตึกถล่ม ทีมนั้นแพ้
เมื่อเกมนี้แข่งกันเสร็จ เราจะได้ทีมที่ชนะ 1 ทีม นอกจากนั้นแล้ว ฉันจะให้ทุกคนในทีมเอาเลข running number ของ Jenga stick มารวมกัน ทีมที่ได้จำนวนรวมมากเป็นทีมชนะ
เมื่อการแข่งขันเกมที่ 1 สิ้นสุด ก็ให้ทำการแข่งขันเกมที่ 2 โดยให้ทีม G1 แข่งกับ G2 ด้วยกติกาเดิม
เมื่อทีมแข่งขันกันสิ้นสุดทั้ง 2 เกม ฉันจะมีคำถามกับทุกคน ดังนี้
1) การแข่งขันเกมที่ 1 เมื่อคุณออกไปดึง Jenga stick คุณมุ่งมั่นที่จะดึงตัวไหน : แน่นอนว่า ทุกคนจะตอบว่า ดึงตัวที่ออกมาแล้ว คนต่อไปตะเล่นยากที่สุด มีโอกาสตึกถล่มลงได้มากที่สุด
2) คำถามเดียวกัน ในการแข่งขันเกมที่ 2 เมื่อคุณออกไปดึง Jenga stick คุณมุ่งมั่นที่จะดึงตัวไหน : แน่นอนว่าทุกคนจะตอบว่า ดึงตัวที่ออกได้ง่าย ตึกไม่ถล่ม และเป็น Jenga stick ที่มีเลขมาก เพื่อให้คะแนนรวมของทีมสูงๆ
ฉันจะสรุปผลของการพูดคุยกันนี้ว่า แล้ววันนี้เราจะเล่นเกมการทำ project ของเราในรูปแบบ เกม P หรือ เกม G. หลังจากนั้นฉันจะปิดการประชุมทีมโดยไม่อธิบายอะไรเพิ่มเติมอีก โดยที่ฉันจะแอบดูการทำงานของทีมทั้งสองต่อไปอยู่ห่างๆ.
ผมเป็นผู้บริหารที่นี่ การจัดการความขัดแย้งนี้จะประสบณ์ความสำเร็จหรือไม่ ในขณะที่ไม่ได้สอบถามปัญหาความขัดแย้งของทีมเลยแม้แต่น้อย คุณจะประเมินผมว่าอย่างไร?
ปัญหาบางปัญหา เรารู้ละว่ามันคือปัญหา มันมีปัญหา เมื่อเราก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารต้องถามใจเราว่าเรานิ่งพอที่จะเผชิญกับปัญหา และมุ่งมั่นจะหาทางทำให้ปัญหามันคลี่คลาย หรือต้องการจะแก้ปัญหานั้นๆ หรือไม่
Skill หนึ่งที่ผู้บริหารต้องมี คือ การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) จากกรณีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ คือ ความขัดแย้งเรื่องสี ระหว่างทีมออกแบบและทีมการตลาด หากว่าเรามีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) เข้าใจรูปแบบของความขัดแย้ง กรณีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นความขัดแย้งในรูปแบบ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Intergroup Conflict) เช่น การขัดแย้งทางผลประโยชน์ การชิงดีชิงเด่น กลุ่มผู้สร้างความขัดแย้งเลือกเอาจุดเด่น จุดแข็ง บางอย่างที่มีอยู่ในกลุ่มของตัวเองขึ้นมาเป็นแกนในการสร้างจุดยืน ซึ่งมันอาจจะมีความชัดเจนของปัญหาความขัดแย้งให้เห็นเลย หรือรู้ สัมผัสได้ว่ามีมีปัญหามีความขัดแย้งแต่ไม่มีความชัดเจน หรือที่เราๆ เรียกกันว่า คลื่นใต้น้ำ
ลักษณะปัญหาเหล่านี้ในบางที่ แค่การนั่งกินข้าวเที่ยงของผู้บริหารก็สร้างพลังของปัญหาหรือความคุกรุ่นของปัญหาแล้ว ด้วยตัวปัญหา ตัวความขัดแข้ง ที่มันไม่ได้สัมผัสจับต้องได้อย่างชัดเจน ผู้บริหารจะหยับอะไรขึ้นมาเป็นเครื่องมือ เป็นประเด็นในการเจรจา ทั้งๆ ที่รู้อยู่ละว่ามันมีปัญหา มันติด มันสะดุดทุกครั้ง กิจกรรมของงานไม่ราบรื่น ต้องมานั่งแก้อะไรก็ไม่รู้ แทนที่ผู้บริหารจะได้เอาเวลาไปทำอะไรๆ ที่เกิดประโยชน์กับองค์กร แต่ต้องมาติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ร่ำไป
ผู้บริหารอาจจะต้องใช้หลักการวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยง (Risk Management) ของปัญหา ซื่งการวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุของความเสี่ยง ดังนี้
จัดแบ่งเป็น 4 ระดับความเสี่ยง คือ
1) ระดับความเสี่ยงต่ำ (Low) คะแนนระดับความเสี่ยง 1-2 คะแนน หมายถึง ระดับความเสี่ยง ที่ยอมรับได้ไม่ต้องควบคุมความเสี่ยง
2) ระดับความเสี่ยงปานกลาง (Medium) คะแนนระดับความเสี่ยง 3-9 คะแนน หมายถึง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันมิให้ความเสี่ยงเพิ่ม มากขึ้นไปอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับ
3) ระดับความเสี่ยงสูง (High) คะแนนระดับความเสี่ยงเท่ากับ 10-15 คะแนน หมายถึง ระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ โดยต้องจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
4) ระดับความเสี่ยงสูงมาก (Extreme) คะแนนระดับความเสี่ยง 16-25 คะแนน หมายถึง ระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ จ้าเป็นต้องเร่งจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทันที
จากกรณีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เขียนได้เข้าร่วม คือ Lane Forward Program เป็นโปรแกรมการสร้างผู้บริหารโปรแกรมหนึ่ง โดยผู้เขียน ประเมินเองว่าปัญหานี้ยู่ในระดับ “ระดับความเสี่ยงปานกลาง (Medium) คะแนนระดับความเสี่ยง 3-9 คะแนน หมายถึง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันมิให้ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นไปอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับ จึงจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 2 กลุ่มร่วมกัน โดยมีข้อแม้ว่า “ทุกคนในทั้ง 2 หน่วยงาน ต้องได้เข้าร่วม และเข้าร่วมแบบคละคน คละตำแหน่ง จากทั้ง 2 หน่วยงาน” ถ้าจำนวนคนมีมาก อาจจะต้องจัดมากกว่า 1 ครั้ง โดยการแบ่งคละคนคละตำแหน่งกันไป การละลายพฤติกรรม ไม่ได้เปิดตัวว่านี่คือการละลายพฤติกรรม แต่เราบอกว่า เราชวนกันมาเล่นเกมสนุกสนุก ร่วมกัน โดนแบ่งกลุ่ม ดังนี้
1) แบ่งกลุมตามแผนก
2) แบ่งกลุ่มตามจำนวนนับ (นับเลขเดียวกัน อยู่กลุ่มเดียวกัน)
เกมที่เล่นคือ Jenga game
เมื่อแบ่งทีมได้แล้วก็อธิบายมีธีการเล่น กติกาการเล่น การเก็บคะแนน แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 แข่งกันระหว่างแผนก กับ 2 แข่งกันระหว่างกลุ่ม
การเล่นเกม Jenga แข่งขันระหว่างแผนกกับแข่งขันระหว่างกลุ่ม ผู้บริหารจะมองเห็นความแตกต่างของวิธีการที่จะมุ่งเอาชนะกัน ที่แตกต่างกัน ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ มีทักษะ จะสามารถทำการสรุปผลการแข่งขัน ด้วยจุดนี้ เป็นการละลายพฤติกรรมที่ของคน
ถามว่า ทำไมต้องเอาทุกคนมาผ่านจุดนี้ คำตอบคือ บรรยากาศ วิธีการ บทบาทและทักษะการละลายพฤติกรรม ทำให้เป็นมนต์ขลังได้ ณ. จุดนี้นี่เอง ถ้าให้ใช้วิธีส่งผ่านจากผู้บริหาร ไปยังผู้จัดการ หัวหน้า ตัวพนักงาน ความขลังมันขาดหายไประหว่างทาง ทั้งนี้ทักษะของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญ
หลังเล่นเกม การติดตามเฝ้าดูอยู่ห่างๆ การนั่งกินข้าวเที่ยงที่โต๊ะก็เป็นสิ่งสะกิดใจถึงเกมที่เล่นไป วิธีนี้มองว่าเป็นวิธีที่การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) โดยไม่ต้องไปเปิด ไปย้ำ ไปคว้าน ไปเย็บ แผลแห่งความขัดแย้งนั้น